โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ธุรกิจ-เศรษฐกิจ

ทำความรู้จัก 5 เทรนด์ไลฟ์สไตล์ ที่ต้องรับมือ เมื่อโลกเข้าสู่ยุค Human Less  

Brandbuffet

อัพเดต 21 ม.ค. 2561 เวลา 11.04 น. • เผยแพร่ 21 ม.ค. 2561 เวลา 06.46 น. • pp

เอ็นไวโรเซล (ไทยแลนด์) บริษัทวิจัยระดับโลก เผย 5 เมกะเทรนด์ไลฟ์สไตล์มาแรงในปี 2018 ที่จะเข้ามามีบทบาทในการขับเคลื่อนพฤติกรรมผู้บริโภคมากขึ้นจนไปสู่การเกิดมาตรฐานใหม่ หรือสร้าง New Normal ทั้งการมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างกัน การติดต่อสื่อสาร การเข้าสังคม วิธีคิดและความเชื่อของผู้คน รวมทั้งช่องทางในการซื้อขายสินค้าต่างๆ ให้เปลี่ยนแปลงไป

คุณสรินพร จิวานันต์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท เอ็นไวโรเซล ประเทศไทย จำกัด ในเครือบริษัท อินเด็กซ์ ครีเอทีฟ วิลเลจ จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า ไลฟ์สไตล์ที่เปลี่ยนแปลงเหล่านี้ล้วนเป็นผลจาก Technology Leading โดยเฉพาะการพัฒนาและเติบโตของสมาร์ทโฟน ทำให้ผู้บริโภคมีรูปแบบการใช้ชีวิตแตกต่างไปจากวิถีเดิมๆ นักการตลาดจึงต้องเปลี่ยนวิธีคิด วิธีสื่อสาร และหาเครื่องมือทางการตลาดให้สอดคล้องกับความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น นับว่าเป็นเทรนด์ที่เข้ามาสร้างการเปลี่ยนแปลงให้เกิดขึ้นทั่วทั้งโครงสร้างตลาดได้ไม่ต่างจากการเกิดพายุหรือ Strom Trend” นั่นเอง

คุณสรินพร จิวานันต์

โดยเอ็นไวโรเซลสรุป 5 เทรนด์ไลฟ์สไตล์ ในปี 2018 ที่จะนำมาซึ่งการเปลี่ยนวิถีชีวิตมนุษย์จากนี้ ประกอบด้วย

1.From Human Touch to Human Less เข้าสู่ยุคที่มนุษย์จะลดการพึ่งพาและปฏิสัมพันธ์ระหว่างกัน แต่หันไปพึ่งพาเทคโนโลยีต่างๆ แทน เนื่องจากการพัฒนาเทคโนโลยีต่างๆ ให้ฉลาดและทำงานได้หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นหุ่นยนต์ แอพพลิเคชั่น หรือโดรน ทำให้ผู้บริโภคสามารถใช้บริการต่างๆ ได้ด้วยตนเอง

“ผู้บริโภคจะคุ้นเคยกับระบบ Self Service หรือ Self Control ที่สามารถจัดการสิ่งต่างๆ ได้ด้วยตัวเองมากขึ้น ดังนั้น ธุรกิจที่เคยให้ความสำคัญกับเรื่องของการใช้ Human Touch มาเป็นหนึ่งใน Touchpoint เพื่อสร้างความต่างหรือเน้นเรื่อง Service Mind รวมทั้งลงทุนเรื่องของการพัฒนาหรือการเทรนนิ่งเพื่อเพิ่มศักยภาพของบุคลากรเป็นหลัก อาจต้องปรับตัว มาเป็นการสร้างจุดขายให้ธุรกิจด้วยเรื่องของ Convenience Service หรือการเพิ่มวิธีอำนวยความสะดวก เพื่อให้ลูกค้าสามารถทำสิ่งต่างๆ ได้ด้วยตัวเองมากขึ้น”

2. From Word of Mouth to Word of Mouse สิ่งที่เคยมีอิทธิพลต่อความคิดและสามารถทำให้ผู้บริโภคเขื่อถือได้ จนนำไปสู่การซื้อสินค้าหรือใช้บริการต่างๆ ให้เปลี่ยนแปลงไป จากที่เคยใช้กลุ่มผู้นำความคิด Influencers หรือเหล่าเซเลบริตี้ต่างๆ มาสู่การเชื่อถือเทคโนโลยีมากขึ้น จากการมอนิเตอร์หรือวัดผลของดีไวซ์ ที่ทำงานได้ฉลาดและมีความแม่นยำมากขึ้น โดยเฉพาะการวิเคราะห์ข้อมูลแบบ Real time ซึ่งเป็นความสามารถที่เกินกว่าสมองมนุษย์ทั่วไปจะทำได้ รวมทั้งการพัฒนาผู้ช่วยอัจฉริยะให้สามารถตอบโต้กับมนุษย์ สื่ออารมณ์ได้ และสามารถแนะนำผู้บริโภคได้ทุกอย่าง

“มนุษย์ทุกวันนี้จะมอนิเตอร์ข้อมูลของตัวเอง ทั้งก้าวการเดิน เวลาและคุณภาพในการนอน สิ่งที่ช่วยยืนยันถึงเทรนด์นี้ได้ดี คือสถิติการใช้ผู้ช่วยอัจฉริยะที่เติบโตอย่างมากและรวดเร็วจากมูลค่า 390 ล้าน ในปี 2015 เป็น 1.8 พันล้าน ภายในปี 2021 หรือยอดการขายสมาร์ทวอทช์ทั่วโลกที่เติบโตหลายเท่าตัวทุกปีจาก 5 ล้านเครื่องในปี 2014 เพิ่มเป็น 75 ล้านเครื่องในปี 2017 และในปี 2018 คาดว่าจะขายได้ถึง 141 ล้านเครื่อง”

ผลจากเทรนด์นี้คือ ภายใน 2-3 ปี เหล่า Influencer ทุกประเภทที่ได้รับความนิยมอยู่ในปัจจุบันนี้ จะถูกลดบทบาทและความสำคัญลง เพราะลูกค้าจะเริ่มคุ้นเคยกับการเชื่อถือผลที่เกิดขึ้นจริงจากการใช้โปรดักต์ที่มีความฉลาด และสามารถบอกข้อมูลที่ลูกค้าต้องการ โดยมีการคาดการณ์ตลาด Medical Device ซึ่งมีมูลค่าราว 4.7 พันล้าน ในปี 2016 จะขยายตัวได้ถึงเกือบ 4 หมื่นล้าน ในปี 2023

เทรนด์นี้ได้กลายเป็นแนวทางในการพัฒนาสินค้าในอนาคต ที่ต้องมีจุดขายด้วยเทคโนโลยีวิเคราะห์ข้อมูลผู้บริโภคที่ละเอียดลึกซึ้ง และสามารถพัฒนาเพื่อให้เหมาะกับผู้บริโภคแต่ละคนได้ในระดับ Individualization เช่น เตียงนอนอากาศ (Air Bed) ที่มีความสามารถในการตรวจสอบมวลกล้ามเนื้อ และอัตราการเต้นของหัวใจ เพื่อปรับความหนาแน่นของเตียงที่ช่วยให้ผู้บริโภคหลับได้ลึกและมีคุณภาพการนอนที่ดีขึ้น หรือการมีแอพพลิเคชั่นที่มอนิเตอร์การวิ่ง รวมทั้งวิเคราะห์ข้อมูลส่วนตัวของนักวิ่งเพื่อช่วยให้เลือกรองเท้าวิ่งรุ่นที่เหมาะสมกับแต่ละคนได้ เป็นต้น

3. From Plain to Play Content วิถีใหม่ในการเพิ่ม Engage ด้วยการเปลี่ยนแนวทางทำคอนเทนต์แบบเดิมๆ ให้เป็นเหมือนเกมส์ที่สนุกสนาน ให้ผู้บริโภครู้สึกท้าทาย ตื่นเต้น และอยาก Engage มากกว่าวิธีโฆษณาที่ทำให้ผู้บริโภครู้สึกว่าถูกยัดเยียด

“ผู้บริโภคที่ใช้มือถือส่วนใหญ่มักจะใช้ Facebook, Chat ช้อปปิ้ง หรือไม่ก็เล่นเกมส์ โดยมีคนไทยที่ชื่นชอบการเล่นเกมส์ราว 20 ล้านคน และส่วนใหญ่จะเล่นผ่านมือถือเฉลี่ยวันละ 3 ชม. เติบโตราว 15% ต่อปี และสิ่งนี้นำมาซึ่งพฤติกรรมใหม่คือการนิยมเสพคอนเทนต์ในรูปแบบเกม หรือมีโอกาสได้เข้าไปมีส่วนร่วมในคอนเทนต์เหล่านั้น รวมทั้งแนวโน้มที่แบรนด์เริ่มเข้ามาเป็นผู้าสนับสนุนการแข่งขัน Esport มากขึ้น กลายเป็นช่องทาง Engage หรือโปรโมทแบรนด์ด้วย Game content ที่ทำให้ผู้บริโภครู้สึกสนุก และท้าทายมากขึ้น”

credit: inquirer.net

ตัวอย่างแบรนด์ที่พัฒนาเกมส์ให้เป็นคอนเทนต์ได้อย่างชาญฉลาด เช่น ไนกี้ ที่ออกแอพพลิเคชั่นให้ผู้เล่นทราบสถิติการวิ่งของตัวเอง และสามารถ Challenge เพื่อนให้มาแข่งกันได้ เป็นการ Engage แบรนด์ไนกี้เข้ามาในเกมส์อย่างแนบเนียน รวมทั้งในอนาคตคาแร็กเตอร์ต่างๆ ภายในเกมส์ก็จะมีโอกาสกลายมาเป็นเซเลบริตี้มากขึ้น ส่วนสถิติการชมกีฬาแบบ Traditional sport ไม่ว่าจะเป็น NFL  Olympic  Premier league ต่างมีสัดส่วนลดลง โดยคนรุ่นใหม่หันไปนิยม Esport มากขึ้น จนเกิดรูปแบบธุรกิจใหม่ขึ้นมา เช่น Esport bar พร้อมทั้งจะได้เห็นสโมสรกีฬาใหญ่ๆ รวมทั้งแบรนด์ต่างๆ เข้ามาสนับสนุน Esport เพิ่มมากขึ้นอีกด้วย

วิดีโอคอนเทนต์ที่เป็น Live จะดึงดูดความสนใจจากผู้บริโภคได้มากกว่าวิดีโอทั่วไปถึง 3 เท่า ตามข้อมูลผู้ใช้อินเตอร์เน็ตและสมาร์ทโฟนที่เพิ่มขึ้น 81% ในปี 2016 เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า แม้แต่ Live VDO จากแบรนด์ก็มีอัตราในการรับชมที่เพิ่มมากขึ้นเช่นกัน โดยข้อมูลระบุว่ามีการพูดคุยซื้อขายผ่าน Market place บนเฟสบุ๊กถึง 550 ล้านคน และมีรายการสินค้าประกาศขายไม่ต่ำกว่า 18 ล้านรายการ

“หนึ่งเทรนด์ธุรกิจที่เกิดขึ้นจากไลฟ์สไตล์นี้คือ See Now & Buy Now เมื่อเวทีแฟชั่นโชว์ บ้าน หรือสวนผลไม้ ต่างเป็น Display สินค้าได้ หากสามารถให้ประสบการณ์สด จริง แก่ผู้บริโภค ซึ่งสามารถตัดสินใจซื้อได้ทันทีในขณะนั้น นอกจากนี้ Physical retail หลายแบรนด์ก็กำลังปรับตัวสู่การให้ประสบการณ์ Live แก่ผู้บริโภคที่อาจไม่ใช่การถ่ายทอดสด แต่เป็นการให้ประสบการณ์สดในอีกรูปแบบหนึ่ง เช่น IKEA ที่มีแอพพลิเคชั่นให้ผู้บริโภคนำสินค้ามาลองวางในห้องก่อนตัดสินใจซื้อ หรือเคาน์เตอร์เครื่องสำอางที่ใช้ AR เพื่อสแกนหน้าลูกค้า ให้ลองเครื่องสำอางค์ได้หลายๆ แบบ”

credit: http://fashionweekonline.com

สิ่งที่เกิดขึ้นทำให้นักการตลาดเรียนรู้ว่า ไม่ใช่เพียงแค่การมีโปรดักต์ที่ดีเพียงอย่างเดียว แต่ต้องคำนึงถึงวิธีพรีเซนต์รูปแบบใหม่ๆ ที่สามารถดึงดูดและสร้างความสนใจจากลูกค้าได้ และเมื่อทำได้แล้วเรื่องของราคาก็จะไม่ใช่ปัจจัยที่ลูกค้ากังวล หากสินค้านั้นๆ สามารถตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้าแบบ Personalization ได้

5. From Actual to Virtual ความคุ้นเคยการใช้แอพพลิเคชั่นและเชื่อถือเทคโนโลยี Self service มากขึ้น ทำให้ Socialize ระหว่างมนุษย์แบบตัวต่อตัวน้อยลง มนุษย์จะหันไป Socialize ผ่านหน้าจอ และ Digital Human หรือหุ่นยนต์ต่างๆ เพิ่มมากขึ้น

ผู้บริโภคคุ้นเคยกับการ Message และ Social network ทั้งแบบส่วนตัวหรือในธุรกิจ โดย Messaging app มี Active users 3,000 ล้านคนต่อเดือน และ Social network 2,700 ล้านคนต่อเดือน โดยในอนาคตอันใกล้ผู้บริโภคจะหันไป Social กับ Chatbot มากขึ้น เพราะสามารถตอบโต้และให้ความช่วยเหลือผู้บริโภคได้ด้วย

credit: http://sophiabot.com

Chatbot มีโอกาสเติบโต 24% จนถึงปี 2025 โดย 57% ของผู้บริโภคชอบ Chatbot ในการช่วยเหลือและบริการข้างต้น เช่น Domino pizza ที่มีบริการการสั่งซื้อผ่าน Chatbot ได้เลย นอกจากนี้ การออกเทคโนโลยีใหม่ๆ เช่น หุ่นยนต์โซเฟีย ที่ถูกพัฒนาให้มีอารมณ์เหมือนมนุษย์ โต้ตอบกับมนุษย์ได้ แถมเป็นหุ่นยนต์ตัวแรกที่ได้เป็นพลเมืองของซาอุดิอาระเบีย  รวมทั้งในญี่ปุ่นที่ออก Gatebox ให้มนุษย์ใช้ชีวิตแบบ Virtual และทำกิจกรรมต่างๆ กับคาแร็คเตอร์ที่ชื่นชอบ โดยสามารถตอบโต้กันได้เหมือนอยู่กับคนจริงๆ

เด็กรุ่นใหม่จะคุ้นเคยกับการ Socialize กับ Virtual หรือหุ่นยนต์มากขึ้น เพราะ Human Less Technology ที่สำคัญ การ Socialize กับ Virtual หรือหุ่นยนต์ จะให้แต่ความรู้สึกด้านบวก เพราะถูกพัฒนามาแต่อารมณ์ด้านบวกเท่านั้น จึงทำให้มนุษย์รู้สึกดีและหลงรักชีวิตแบบ Virtual พร้อมมีการคาดการณ์ว่า ภายในปี 2025 มนุษย์จะชอบมี sex กับหุ่นยนต์มากกว่ามนุษย์ด้วยกันเอง”

ส่วนเทรนด์ที่คาดการณ์ว่าจะเกิดขึ้นในประเทศไทยได้ชัดเจนและเร็วที่สุดคือ เรื่องของ From Plain to Play Content และ From Store to Stream ที่ล้วนแต่เป็นการให้ความสำคัญกับเรื่องของการสร้างประสบการณ์แก่ผู้บริโภค เพื่อหาวิธีให้ผู้บริโภคเข้ามา Engage กับคอนเทนต์หรือแบรนด์ได้มากขึ้นนั่นเอง

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0