โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ธุรกิจ-เศรษฐกิจ

ความเจ็บปวดของ Mark Zuckerberg กับภารกิจ “ซ่อม Facebook”

Marketing Oops

อัพเดต 17 ก.พ. 2561 เวลา 07.29 น. • เผยแพร่ 17 ก.พ. 2561 เวลา 03.35 น. • Oops Hardcore
ความเจ็บปวดของ Mark Zuckerberg กับภารกิจ “ซ่อม Facebook”

ที่ผ่านมา Facebook ละเลยสัญญาณของปัญหาข่าวปลอมคอนเทนต์ที่ไม่เหมาะสมมาตลอด ไม่รู้ตัวว่าการคิดว่าตัวเองเป็นแค่แพลตฟอร์มสำหรับเนื้อหาทุกประเภทนั้นสร้างความไม่พอใจให้คนใช้ Facebook จนเกิดความวุ่นวายทางการเมืองแม้แต่การใช้ชีวิต จนสร้างความเจ็บปวดให้กับ Mark Zuckerberg ในภายหลังที่ต้องการให้ Facebook เป็นตัวเชื่อมต่อผู้คน ไม่ใช่สร้างความแตกแยก

ทำให้ปีนี้เป็นที่ต้องจับตาภารกิจ “ซ่อม Facebook” ของ Mark Zuckerberg ไว้ให้ดี

 

Mark_Zuckerberg_Facebook
Mark_Zuckerberg_Facebook

 

ข่าวปลอมระบาด วงการสื่อและโฆษณาอ่วมเพราะ Facebook ?

ราวสามในสี่ของธุรกิจโฆษณาดิจิทัลทั่วโลกเป็นของ Facebook สื่อสิ่งพิมพ์ที่ทยอยปิดตัวเพราะรายได้หด  ส่วนหนึ่งเป็นเพราะคนหาอ่านข่าวและคอนเทนต์ได้ฟรีบน Facebook เท่านั้นยังไม่พอ เมื่อกลางปี 2015 Facebook ปล่อยฟังก์ชั่นอย่าง Instant Article ให้คนเปิดอ่านเนื้อหาได้เร็วกว่า คมกว่ามานั่งเปิดลิงค์เว็บไซต์ของสื่อ

จนเมื่อเร็วๆนี้ นิตยสารดังในวงการไอทีและการตลาดอย่าง WIRED เอารูป Mark Zuckerberg ที่มีสภาพเหมือนโดนซ้อมลงปกเพื่อสื่อถึงสองปีของ Facebook ที่โดนข้อหาหนักๆว่าเป็นแหล่งเผยแพร่ข่าวปลอม โฆษณาชวนเชื่อและคอนเทนต์ที่ไม่เหมาะสม เบียดพื้นที่ของข่าวจริงบน News Feed จนทำให้เกิดเหตุการณ์ที่หลายคนไม่พอใจ ไม่ว่าจะเป็นการชนะเลือกตั้งของประธานาธิบดี  Donald Trump เหตุการณ์ทางการเมืองที่ไม่สงบและสร้างความแตกแยกในหลายๆประเทศที่หลายคนต่างโทษ Facebook เป็นต้นเหตุ

 

WIRED_cover_Mark-Zuckerberg
WIRED_cover_Mark-Zuckerberg

 

Facebook อัลกอริทึม และกลยุทธ์ลอกแนวคิดคู่แข่ง

อัลกอริทึมของ Facebook จะคอยกำหนดเนื้อหาบน News Feed ของคนใช้ Facebook โพสต์ไหนที่เรากดไลค์ กดแชร์ โพสต์ของเพจนั้นก็จะปรากฎให้เห็นบ่อยขึ้น

แต่ดูเหมือนว่าในช่วงที่ผ่านมาก่อน Mark Zuckerberg จะออกมาประกาศสงครามกับข่าวปลอม Facebook ละเลยปัญหาของอัลกอริทึมของ  Facebook มาตลอด Facebook มองตัวเองว่าเป็นบริษัทเทคโนโลยีที่เป็นแพลตฟอร์มสำหรับข้อมูลข่าวสาร ให้คนอ่านมาเจอสื่อ เป็นพื้นที่ให้คนมาเจอกัน

ส่วนเนื้อหาบน News Feed จะเป็นอย่างไรนั้น จะเป็นข่าววิเคราะห์หรือข่าวปลอม ข้อเท็จจริงหรือความเห็นส่วนตัว Facebook มองว่าไม่เกี่ยวข้อง ตัวเองไม่ได้อยู่ในธุรกิจสื่อข่าว เลยทำให้ข้อมูลทุกอย่างบน Facebook มีคุณค่าเท่ากันหมด คนที่ส่งเสียงบน Facebook จะมีสิทธิ์เหมือนๆกัน

รวมถึงคนเสพย์ข่าวและสื่อสำนักช่าวด้วย

 

facebook-brain-connections
facebook-brain-connections

 

เมื่อปี  2012 ที่มีการหาเสียงในสหรัฐอเมริกา Twitter เป็นเครื่องมือที่กระจายข่าวได้เร็วกว่า  Facebook ด้วยการจำกัดข้อความเพียง 140 ข้อความ Facebook จึงหาทางที่จะทำให้ตัวเองเป็นแหล่งเผยแพร่ข่าวแข่งกับ Twitter ปรับอัลกอริทึมให้ข่าวปรากฎบน News Feed มากขึ้น เพิ่มฟังก์ชั่น Instant Article ให้เปิดอ่านข่าวบน Facebookได้เร็วกว่าลิงค์เว็บไซต์ของสื่อ เสริมด้วยฟังก์ชั่น Trending ที่คอยบอกคนเล่น Facebook ว่าเรื่องไหนคนกำลังให้ความสนใจอยู่ในขณะนั้นทำให้รายได้ของสื่อสำนักข่าวได้รับผลกระทบ

 

facebook_trending
facebook_trending

 

และก็ได้ผล Facebook กลายเป็นแพลตฟอร์มของข่าวที่มีทราฟฟิคแซงหน้า Twitter และเป็นแหล่งอ้างอิงข่าวแซงหน้า Google แต่เพราะ Facebook เปิดรับข้อมูลทุกประเภท เพราะมองว่าตัวเองเป็นเทคโนโลยีแพลตฟอร์ม ข่าวปลอมและโฆษณาชวนเชื่อก็มีอยู่บน News Feed ด้วย ยิ่งมีอัลกอริทึมที่ดันข่าวที่น่าสนใจขึ้นบ่อยๆ และข่าวปลอมก็ชวนให้คนเชื่อและกดไลค์ กดแชร์ ทำให้ข่าวปลอมปรากฎบน News Feed มากกว่าข่าวจริงรวมถึงโฆษณาชวนเชื่อ โดยเฉพาะในช่วงหาเสียงชิงตำแหล่งประธานาธิดีสหรัฐอเมริกาปี 2016 ที่ภายหลัง Facebook จับได้ว่าโฆษณาชวนเชื่อกว่า 3,000 ตัว มีโพสต์ที่ถูกแขร์กว่า 340 ล้านครั้งในช่วงหาเสียงนั้นมีต้นทางมาจากรัสเซีย

 

Fake_news-donald-trump
Fake_news-donald-trump

 

หนึ่งในข่าวปลอมบน Facebook ในช่วงหาเสียงเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกาที่บอกว่าโป็ปฟรานซิสประกาศสนับสนุนโดนัลด์ ทรัมป์

 

ทั้งหมดเป็นเพราะ Facebook เคยประมาทผลเสียของข่าวปลอมที่แม้แต่ Mark Zuckerberg ก็ยังไม่รู้ตัว บวกกับอัลกอริทึมที่ส่งเสริมข่าวปลอม และจำกัดกรอบความคิดของตัวเองว่าเป็นแค่เทคโนโลยีแพลตฟอร์มเพียงอย่างเดียว

 

ภารกิจซ่อม Facebook ที่หลายไอเดียอยู่ในช่วงเริ่มต้น

ปัญหาข่าวปลอมทำให้ปีที่ผ่านมา Mark Zuckerberg ต้องออกพื้นที่ รับฟังปัญหาจากคนที่ใช้ Facebook ตั้งทีมนักวารสารคอยตรวจข้อเท็จจริงของข่าวบน Facebook และได้เริ่มลงมือแก้ไขปัญหาไปบ้างแล้ว ไม่ว่าจะเป็นบังคับให้ทุกคนที่เล่น Facebook ใช้ชื่อและกรอกข้อมูลจริงลงโปรไฟล์ของตัวเอง ลด Reach ลงสำหรับเพจข่าว ตัดฟังก์ชัน Trending ออกไป เพิ่มอิโมจิแสดงอารมณ์ ดันโพสต์ของเพื่อนและโพสต์ข่าวท้องถิ่นให้ปรากฎบน New Feed มากขึ้น ทดลองปุ่ม Down Vote แยก News Feed และ Explore Feed ในบางพื้นที่ และล่าสุดได้ออกนโยบายเกี่ยวกับ Branded Content ด้วย

 

facebook-ad-in-phone-768x439
facebook-ad-in-phone-768x439

 

ตอนนี้เป้าหมายของ  Facebook คงจะไม่ใช่ทำกำไรเพียงอย่างเดียว แต่จะส่งเสริมให้ใช้เวลาเล่น Facebook ให้น้อยลงแต่มีคุณค่า เน้นความสัมพันธ์เพื่อน ครอบครัวและชุมชน Facebook ต่อจากนี้ไม่ได้มองตัวเองว่าเป็นธุรกิจเทคโนโลยี แต่เป็นธุรกิจในวงการสื่อด้วย

ฉะนั้นอยากให้เราจับตาปฎิบัติการซ่อม Facebook ในปีนี้ไว้ให้ดี เพราะเริ่มต้นปีก็ปรับไปหลายอย่างแล้ว

 

แหล่งที่มาหลัก

https://www.wired.com/story/inside-facebook-mark-zuckerberg-2-years-of-hell/

อ่านบทความทั้งหมด ที่ MarketingOops.com

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0