โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ธุรกิจ-เศรษฐกิจ

ครม. ไฟเขียวปรับแผนบริหารหนี้สาธารณะปี61 เพิ่มวงเงิน8.5หมื่นล้าน

กรุงเทพธุรกิจออนไลน์ - Economics

เผยแพร่ 20 มี.ค. 2561 เวลา 12.04 น.

นายณัฐพร จาตุศรีพิทักษ์ ที่ปรึกษารัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยภายหลังการประชุมคณะรัฐมนตรี หรือ ครม. ในวันนี้ว่า ที่ประชุมอนุมัติการปรับปรุงแผนบริหารหนี้สาธารณะ โดยมีการปรับวงเงินเพิ่ม 85,906 ล้านบาทเป็นวงเงินรวม 1.58 ล้านล้านบาท ทำให้สัดส่วนหนี้สาธารณะต่อจีดีพี มาอยู่ที่ระดับร้อยละ 42.8 ต่อจีดีพี ซึ่งปรับขึ้นเล็กน้อยเท่านั้น จากเดิมที่ระดับร้อยละ 42.7

นอกจากนี้ การการปรับปรุงแผนบริหารหนี้สาธารณะดังกล่าวยังทำให้ภาระหนี้ต่องบประมาณปรับลดลงจากร้อยละ 9 เหลือร้อยละ 8.6

นายณัฐพร ยังเปิดเผยภายหลังการประชุมคณะรัฐมนตรี หรือ ครม. ในวันนี้ว่า ที่ประชุมอนุมัติงบกลางปี 2560 วงเงิน 257 ล้านบาท เพื่อดำเนินการติดตั้งเครื่องอีดีชี เพิ่มเติมตามความต้องการอีก 20,000 เครื่อง เพื่อใช้รองรับการใช้จ่ายผ่านบัตรสวัสดิการแห่รัฐ ของผู้ที่มีรายได้น้อย

อย่างไรก็ตาม ล่าสุดมีประชาชนได้รับบัตรสวัสดิการแห่งรัฐแล้ว 10.8 ล้านคน คิดเป็นร้อยละ 95 จากผู้มีสิทธิ์ทั้งหมด 11.4 ล้านคน

นอกจากนี้ ที่ประชุมได้แต่ตั้ง นายภคพงศ์ ศิริกันทรมาศ ดำรงตำแหน่งผู้ว่าการการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย หรือ รฟม. โดยให้มีผลทันที

นายณัฐพร เปิดเผยภายหลังการประชุมคณะรัฐมนตรี หรือ ครม. ในวันนี้ว่า ที่ประชุมเห็นชอบให้ธนาคารออมสิน ดำเนินโครงการสินเชื่อรายย่อยเพื่อใช้จ่ายฉุกเฉินระยะที่ 2 วงเงิน 10,000 ล้านบาท และอนุมัติงบประมาณที่ใช้ในโครงการเป็นวงเงินงบประมาณสูงสุดไม่เกิน 4,000 ล้านบาท ระยะเวลาโครงการไม่เกิน 5 ปี วงเงินให้สินเชื่อต่อรายไม่เกิน 50,000 บาทต่อราย คิดอัตราดอกเบี้ยคงที่ไม่เกินร้อยละ 0.85 ต่อเดือน โดยจะพิจารณาเงินให้สินเชื่อจากความสามารถในการชำระหนี้จากรายได้และค่าใช้จ่ายรวมของบุคคลในครอบครัวเป็นหลัก โดยสามารถตรวจสอบประวัติการชำระหนี้จากเครดิตบูโรได้ แต่จะไม่นำมาเป็นเงื่อนไขในการพิจารณาสินเชื่อ

อย่างไรก็ตาม การดำเนินโครงการทั้งหมดของโครงการนี้ แบ่งเป็นระยะที่ 1 วงเงิน 10,000 ล้านบาท ซึ่งเป็นของธนาคารออมสิน 5,000 ล้านบาท และธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตรวงเงิน 5,000 ล้านบาท และระยะที่ 2 อนุมัติให้กับธ.ก.ส. เมื่อเดือนมกราคมที่ผ่านมา 10,000 ล้านบาท และเมื่อรวมครั้งนี้ที่อนุมัติให้ออมสิน 10,000 ล้านบาท จะทำให้โครงการนี้มีวงเงินรวมทั้งสิ้น 30,000 ล้านบาท และคาดว่าจะช่วยให้ประชาชนผู้มีรายได้น้อยเข้าถึงแหล่งเงินทุนในระบบได้ไม่ต่ำกว่า 600,000 ราย

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0