โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

สุขภาพ

คนเป็นไมเกรนต้องรู้! วิธีป้องกันและรักษา ไม่ให้ ไมเกรน กำเริบ

MThai.com - Health

เผยแพร่ 16 ม.ค. 2561 เวลา 06.52 น.
คนเป็นไมเกรนต้องรู้! วิธีป้องกันและรักษา ไม่ให้ ไมเกรน กำเริบ
ไมเกรน เป็นอาการปวดศีรษะที่เชื่อเถอะว่า ไม่มีใครอยากจะเป็นหรอก ก็เพราะว่าเป็นแล้วมันทรมานยังไงล่ะ แต่ของแบบนี้มันก็มีวิธีป้องกันและรักษาได้เ

ไมเกรน เป็นอาการปวดศีรษะที่พบได้บ่อย โดยผู้หญิงมักเป็นไมเกรนร้อยละ 18 ผู้ชายร้อยละ 6 และในเด็กร้อยละ 4 เมื่ออาการปวดไมเกรนกำเริบ มักจะปวดศีรษะร่วมกับอาการทางระบบประสาท อาการทางระบบทางเดินอาหาร และอาการทางระบบประสาทอัตโนมัติ โดยผู้ป่วยส่วนใหญ่มักเกิดอาการไมเกรนครั้งแรกในช่วงอายุก่อน 30 ปี

ไมเกรนเป็นความผิดปกติในกลุ่มโรคที่มีปัจจัยทางพันธุกรรมร่วมด้วย โดยจะมีอาการทางระบบประสาทก่อนจะมีอาการปวดศีรษะไมเกรน แต่เดิมเชื่อว่าเกิดจากหลอดเลือดในสมองมีการหดตัวเกิดขึ้น หลังจากนั้นร่างกายจะมีการตอบสนองด้วยการทำให้หลอดเลือดขยายตัว นี่แหละที่เป็นสาเหตุของการปวดศีรษะ

อาการของไมเกรน

มักมีอาการปวดศีรษะข้างเดียว โดยจะเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว มีอาการปวดตื้อๆ ระดับความปวดมักเป็นมาก ปานกลาง ถึงรุนแรง และมักเป็นมากขึ้น เมื่อมีการเคลื่อนไหว ระยะเวลาของการปวดจะเกิดขึ้นได้นานตั้งแต่ 4-72 ชั่วโมงในผู้ใหญ่ 2-48 ชั่วโมงในเด็ก นอกจากนี้ยังพบอาการเบื่ออาหารได้ค่อนข้างบ่อย รวมถึงอาการคลื่นไส้ อาเจียนด้วย ผู้ป่วยที่ไวต่อสิ่งเร้า ก็สามารถเกิดอาหารเหล่านี้ได้เช่นกัน ดังนั้นผู้ป่วยไมเกรนส่วนใหญ่มักอยากอยู่ที่มืดและเงียบ เพราะจะทำให้อาการปวดศีรษะดีขึ้น

การรักษาไมเกรน

แพทย์จะวินิจฉัยและวางแผนการรักษาโดยพิจารณาจากอาการและความเจ็บป่วยอื่นๆ ที่ผู้ป่วยเป็นอยู่ ซึ่งสภาวะที่มักพบในผู้ป่วยที่ป่วยเป็นไมเกรน ได้แก่ stroke, โรคลมชัก, ความผิดปกติทางจิตใจ เช่น ภาวะซึมเศร้า อารมณ์คลั่ง ภาวะวิตกกังวล และ panic นอกจากนี้ยังอาจพบความผิดปกติทางจิตใจที่ทำให้เกิดความผิดปติระบบย่อยอาหาร เช่นท้องเสียจากภาวะวิตกกังวลหรือซึมเศร้า ร่วมด้วยได้

การรักษาด้วยยา

  1. การรักษาแบบเฉียบพลันเพื่อบรรเทาอาการปวด ใช้เพื่อหยุดหรือลดอาการปวดศีรษะที่เกิดขึ้น

  2. การใช้ยาเพื่อป้องกันการเกิดไมเกรน ใช้เพื่อลดความถี่ในการเกิดอาการไมเกรนแบบเฉียบพลันลง และช่วยให้ความรุนแรงของอาการปวดลดน้อยลงด้วย

จากหลักฐานทางวิชาการเกี่ยวกับประสิทธิภาพและความทนต่อยาที่ใช้ในการป้องกัน อาการปวดไมเกรน ทาง United States Headache Consortium ได้สรุป และจัดทำเป็นคำแนะนำเกี่ยวกับ การใช้ยาเพื่อป้องกันการเกิดอาการไมเกรน คือ ควรให้การรักษาด้วยยา เพื่อป้องกันการเกิดไมเกรนในผู้ป่วยกรณีต่อไปนี้

– เป็นไมเกรนซ้ำๆ ซึ่งอาการไมเกรนที่เป็น มีผลกระทบต่อชีวิตประจำวันของผู้ป่วย แม้จะได้รับการรักษาแบบเฉียบพลัน เพื่อบรรเทาอาการปวดแล้วก็ตาม เช่น เกิดอาการไมเกรนมากกว่า 2 ครั้งใน 1 เดือน ซึ่งทำให้ผู้ป่วยไม่สามารถทำงานได้ แต่เวลาที่เกิดอาการจะรุนแรงมากจนผู้ป่วยไม่สามารถทำงานได้

– ได้รับการรักษาด้วยยาแบบเฉียบพลันแล้ว แต่ไม่ได้ผลในการรักษา หรือมีข้อห้ามใช้ หรือเกิดผลข้างเคียงจากยาที่ใช้ในการรักษาอาการปวดแบบเฉียบพลัน

– ใช้ยาบรรเทาอาการปวดมากเกินไป

– ผู้ป่วยมีลักษณะมีความเสี่ยงต่อการเกิดความพิการทางระบบประสาท

– มีอาการปวดศีรษะบ่อยมาก (มากกว่า 2 ครั้งต่อสัปดาห์) และมีความเสี่ยงต่อการเกิด rebound headache

– เป็นความต้องการของผู้ป่วยที่จะได้รับการรักษาด้วยแบบป้องกัน เพื่อลดความถี่ในการเกิดอาการไมเกรนเฉียบพลัน

ยาที่ใช้รักษา

  1. เป็นยาในกลุ่ม Beta-adrenergic blockers ได้แก่ propanolol, nadol, atenodol, metoprolol และ timolol ซึ่งมีประสิทธิภาพในการป้องกันไมเกรนได้ แต่ยากลุ่มนี้ทำให้เกิดอาการข้างเคียงทางพฤติกรรมได้ เช่น ง่วงซึม อ่อนล้าง่าย, การนอนหลับผิดปกติ ฝันร้าย, ภาวะซึมเศร้า, ความจำเลวลง และประสาทหลอน ดังนั้นยาในกลุ่มนี้จะต้องหลีกเลี่ยงในผู้ป่วยไมเกรนที่มีภาวะซึมเศร้าร่วม ด้วย

  2. ยารักษาโรคซึมเศร้า กลุ่ม tricyclic antidepressant, amitriptyline เป็นยาที่มีประสิทธิภาพในการป้องกันอาการไมเกรน ผลข้างเคียงของยานี้คือ รับประทานอาหารเพิ่มขึ้น, ปากแห้ง, และง่วงซึม

  3. ยากันชัก มีหลักฐานเพิ่มมากขึ้นว่า ยากันชักสามารถนำมาใช้ป้องกันไมเกรนมากขึ้น เช่น sodium valproate, toprimate ซึ่งยาตัวนี้นอกจากมีประสิทธิภาพในการป้องกันไมเกรน ยังพบว่าการใช้ยาต่อเนื่องมีผลให้น้ำหนักตัวลดลงได้ (ซึ่งยาป้องกันไมเกรนตัวอื่นนั้นมีผลทำให้น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้น ซึ่งเป็นสาเหตุทำให้ผู้ป่วยหยุดใช้ยา)

ถึงแม้ว่าจะมียาที่ใช้ป้องกันรักษาไมเกรนได้ แต่การมีพฤติกรรมสุขภาพที่ดี เป็นเกราะป้องกันโรคที่ดีที่สุด นั่นคือ

  1. งดเว้นสิ่งเสพติด สุรา เครื่องดื่มมึนเมาทุกชนิด

  2. การออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ เช่น การเดินเร็ว การวิ่งจ๊อกกิ้ง การเต้นแอโรคบิค ว่ายน้ำ เป็นต้น โดยทำอย่างน้อย สัปดาห์ละ 3 วัน วันละ 30 นาที

  3. การรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ ครบถ้วน

ที่มา : มูลนิธิสร้างสุขมุสลิมไทย (สสม.)

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0