โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ไอที ธุรกิจ

สคฝ. พบวัยเริ่มทำงาน มีเงินฝากน้อย-หนี้มาก เผยโควิดดันยอดเงินฝากโต คาดทั้งปีโต 4-6%

1,591 ดู

นายทรงพล ชีวะปัญญาโรจน์ ผู้อำนวยการสถาบันคุ้มครองเงินฝาก (สคฝ.) หรือ DPA เปิดเผยพฤติกรรมการฝากเงินของผู้ฝากบุคคลธรรมดา มีความสัมพันธ์กับอายุที่เพิ่มขึ้น ได้แก่ กลุ่มวัยเริ่มทำงาน อายุ 23-35 ปี มียอดเงินฝากเฉลี่ยราว 3,000 บาท ส่วนใหญ่มีการเปิดบัญชีเงินฝากมากกว่า 1 บัญชี กับสถาบันการเงินมากกว่า 1 แห่ง     วัยทำงาน อายุ 36-59 ปี เฉลี่ย 5,000 บาท เริ่มลงทุนในสินทรัพย์ประเภทอื่นเพิ่มเติม โดยคนกลุ่มนี้มีจำนวนราวครึ่งนึงของผู้ฝากทั้งหมด และวัยเกษียณ อายุ 60 ปีขึ้นไป เฉลี่ย 7,000 บาท คนกลุ่มนี้มีบัญชีเงินฝากจำนวน 13% ของผู้ฝากทั้งหมด แต่มีเงินฝากรวมกันปริมาณสูงถึง 93% ของเงินฝากในระบบทั้งหมด     ทั้งนี้ พบว่ากลุ่มวัยเริ่มทำงานมีเงินฝากน้อย และหนี้สินมาก เนื่องจากการลงทุนในสินทรัพย์ประกอบการทำงานและสร้างฐานะ แต่สำหรับกลุ่มคนทำงานจะมีเงินฝากเพิ่มขึ้น ขณะที่หนี้สินลดลง และมีความสามารถจัดสรรสินทรัพย์เพื่อสะสมเงิน โดยลงทุนผ่านตลาดต่าง ๆ ตามความถนัด เช่น กองทุนลดหย่อนภาษี และสำหรับกลุ่มเกษียณแล้ว ผู้ฝากจะสามารถรับความเสี่ยงการลงทุนได้น้อยลง เนื่องจากขาดรายได้จากงานประจำ     นอกจากนี้ ระหว่างเดือนมกราคม - มิถุนายนของปี 2563 การแพร่ระบาดของโควิด-19 ส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นในการลงทุนในตลาดเงินและตลาดทุน และพฤติกรรมการฝากเงินในประเทศไทย โดยอัตราการเติบโตของเงินฝากในช่วงนี้ ขยายตัวสูงถึง 8% เมื่อเทียบกับช่วง 3 ปีก่อน ที่โตเฉลี่ยแค่ 4% โดยเฉพาะในช่วงเดือนมีนาคมที่โตขึ้นมาก เพราะนักลงทุนขายสินทรัพย์เสี่ยงและหันมาถือครองเงินสด     และอัตราการฝากเงินเริ่มโตน้อยลงในช่วงเมษายนเป็นต้นมา คาดการณ์ทั้งปีนี้ อัตราการฝากเงินโตเฉลี่ย 4-6% จากปีก่อนหน้าที่โตเฉลี่ย 4% และเพราะทั้งคนและบริษัทนิติบุคคลเริ่มถอนเงินฝากออกมาใช้จ่าย ทั้งนี้แม้สถานการณ์จะกลับมาปรับตัวดีขึ้นในช่วงไตรมาสที่ 2 ของปี ที่มีการฝากเงินกับสถาบันการเงินเพิ่มขึ้นในอัตราที่น้อยลง แต่ผู้ฝากยังคงพักเงินไว้ในบัญชีเงินฝากอยู่     ในภาพรวม มีจำนวนผู้ฝากในระบบสถาบันการเงิน ภายใต้ความคุ้มครองของสถาบันคุ้มครองเงินฝากเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.38 หรือราว 1.1 ล้านราย และมีจำนวนเงินฝากที่ได้รับความคุ้มครองเพิ่มขึ้นร้อยละ 8.12 หรือประมาณ 1.1 ล้านล้านบาท เมื่อเทียบกับข้อมูลเมื่อสิ้นปี 2562     และในช่วงไตรมาสที่ 2 ภายใต้สถานการณ์โควิด-19 คนไทยได้ปรับเปลี่ยนสัดส่วนการลงทุนในตลาดต่าง ๆ โดยมีการกลับมาลงทุนในตลาดกองทุนรวม และการลดสัดส่วนการลงทุนในตลาดทุน และเพิ่มการลงทุนในทองคำตามสภาพตลาดที่เปลี่ยนแปลงไป ยิ่งไปกว่านั้น กลุ่มธุรกิจบางกลุ่มที่ได้รับผลกระทบจากสภาพเศรษฐกิจ ก็ได้นำเงินที่สำรองไว้ในส่วนของเงินฝาก หรือเงินสำหรับการลงทุน มาเป็นค่าใช้จ่ายมาหมุนเวียนในธุรกิจ     ปัจจุบันประเทศมีจำนวนคนฝากเงินในระบบ 80.82 ล้านราย และมีจำนวนเงินฝากที่ได้รับความคุ้มครองทั้งสิ้น 14.67 ล้านล้านบาท โดยผู้ฝากที่มีเงินฝากในบัญชีสูงสุดส่วนใหญ่อยู่ในกรุงเทพฯ และปริมณฑล     ซึ่ง 50% ของผู้ฝากในภูมิภาคนี้มียอดเงินฝากรวมไม่เกิน 10,442 บาทต่อราย ขณะที่ผู้ฝากในภาคตะวันออกฉียงเหนือมีเงินฝากน้อยที่สุด โดยมากกว่าครึ่งหนึ่งของผู้ฝากในภูมิภาคมียอดเงินรวมไม่เกิน 1,400 บาทต่อราย      ดูยูทูป : https://youtu.be/VgSwjR5rkQ8  

ข่าวช่อง3

อัพเดต 01 ต.ค. 2563 เวลา 07.20 น. • เผยแพร่ 01 ต.ค. 2563 เวลา 02.54 น.
เล่นอัตโนมัติ
0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0