โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ทั่วไป

นักวิจัย มทร.ธัญบุรี คว้าเหรียญทองระดับโลก จากผลงาน ‘หลอดทดสอบแบคทีเรียก่อโรคในอาหาร’

Amarin TV

อัพเดต 14 ก.พ. 2561 เวลา 05.15 น. • เผยแพร่ 14 ก.พ. 2561 เวลา 05.11 น. • AmarinTV

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.จิราภรณ์ อนันต์ชัยพัทธนา สาขาวิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี คิดค้นหลอดพร้อมใช้งานสำหรับปฏิกิริยาลูกโซ่มัลติโพลิเมอเรส สำหรับตรวจสอบแบคทีเรียก่อโรคในอาหาร 3 สายพันธุ์ คือ Salmonella spp, Bacillus cereus และ Staphylococcus aureus เพื่อช่วยลดเวลาในการตรวจสอบแบคทีเรียก่อโรคในอาหาร และอำนวยความสะดวกในการขนส่งสารละลายสำหรับตรวจสอบ นอกจากนี้ ยังเป็นประโยชน์สำหรับผู้ประกอบการที่ผลิตอาหารจำนวนมาก และต้องการตรวจสอบคุณภาพด้านความปลอดภัยของอาหารที่ผลิตขึ้นในจำนวนมากและให้ผลที่รวดเร็ว ซึ่งผลงานดังกล่าวได้รับรางวัลเหรียญทอง ในงาน INOVA-BUDI UZOR 2017 42nd International Invention Show ณ เมืองโอซีเยก ประเทศโครเอเชีย

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.จิราภรณ์ อนันต์ชัยพัทธนา เปิดเผยว่า ในการตรวจสอบการปนเปื้อนของจุลินทรีย์แบบดั้งเดิมนั้นใช้เวลาในการตรวจประมาณ 5 – 7 วัน ใช้สารเคมี และแรงงานมาก ซึ่งไม่เหมาะสำหรับการตรวจตัวอย่างอาหารจำนวนมากในระดับอุตสาหกรรม ในปัจจุบันจึงมีการพัฒนาวิธีตรวจจุลินทรีย์โดยใช้ปฏิกิริยาลูกโซ่มัลติพอลิเมอเรส มาใช้ในการตรวจสอบแบคทีเรียที่ปนเปื้อนในอาหาร โดยประสิทธิภาพวิธีนี้ดีกว่าวิธีดั้งเดิม คือ สามารถทราบผลการตรวจที่รวดเร็วในเวลา 1 – 2 วัน ประหยัดแรงงาน สามารถตรวจสอบอาหารได้จำนวนมากในครั้งเดียว และสามารถตรวจสอบหาแบคทีเรียก่อโรคได้ถึง 3 สายพันธุ์ต่อการทดสอบหนึ่งครั้ง นอกจากนี้หลอดที่พัฒนาขึ้นนี้ยังสะดวกต่อการใช้งาน เนื่องจากส่วนผสมทั้งหมดของการเกิดปฏิกิริยาที่ใช้ในการตรวจสอบแบคทีเรียทั้ง 3 สายพันธุ์ อยู่ในรูปผงแห้งเคลือบที่ผิวหลอดด้านใน จึงทำให้สามารถเก็บหลอดได้นานที่อุณหภูมิห้อง สะดวกต่อการขนส่งและอยู่ในหลอดพร้อมใช้งานได้ทันทีหลังจากเติมสารละลายดีเอ็นเอที่สกัดจากอาหาร

สำหรับนวัตกรรมที่ประดิษฐ์ขึ้น คือ ส่วนผสมของผงแห้งที่ประกอบไปด้วยส่วนผสมของสารที่เหมาะสมสำหรับการเกิดปฏิกิริยาลูกโซ่มัลติพอลิเมอเรส อยู่ภายในหลอดเฉพาะสำหรับปฏิกิริยาลูกโซ่มัลติพอลิเมอเรส โดยส่วนผสมของสารภายในหลอดจะสามารกใช้ตรวจสอบแบคทีเรียก่อโรคในอาหารจำนวน 3 สายพันธุ์ได้พร้อมกันด้วยการทำการตรวจสอบเพียงครั้งเดียว สามารถช่วยลดเวลาในการตรวจแบคทีเรียก่อโรคในอาหาร ลดต้นทุนทั้งค่าใช้จ่ายด้านแรงงานและสารเคมีในการตรวจ และช่วยอำนวยความสะดวกในการขนส่ง หลอดที่พัฒนานี้จึงเหมาะสำหรับผู้ประกอบการที่ผลิตอาหารจำนวนมาก และต้องการตรวจสอบคุณภาพด้านความปลอดภัยของอาหารที่ผลิตขึ้นในจำนวนมากและให้ผลที่รวดเร็ว

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0