โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ทั่วไป

ปศุสัตว์ สั่งคุมเข้มมาตรการสกัดกาฬโรคในม้า หวั่นลามเข้ากทม.-ปริมณฑล

สยามรัฐ

อัพเดต 13 เม.ย. 2563 เวลา 11.06 น. • เผยแพร่ 13 เม.ย. 2563 เวลา 11.06 น. • สยามรัฐออนไลน์
ปศุสัตว์ สั่งคุมเข้มมาตรการสกัดกาฬโรคในม้า หวั่นลามเข้ากทม.-ปริมณฑล

ปศุสัตว์ ประชุมหารือเร่งแก้ไขปัญหาโรคกาฬโรคแอฟริกาในม้า สั่งเฝ้าระวัง คุมเข้มมาตรการสกัดโรค หวั่นลามเข้ากทม.-ปริมณฑล

เมื่อวันที่ 13 เม.ย. นายสัตวแพทย์สรวิศ ธานีโต อธิบดีกรมปศุสัตว์ มอบหมายนายสัตวแพทย์ชัยวัฒน์ โยธคล รองอธิบดีกรมปศุสัตว์ เป็นประธานในการประชุมหารือเพื่อแก้ไขปัญหากาฬโรคแอฟริกาในม้า (African Horse Sickness) โดยมีปศุสัตว์เขต 1 ปศุสัตว์เขต 2 ปศุสัตว์จังหวัดในเขต 1 2 และ 7 ผอ.สคบ. ผอ.กสก. และสำนักกฏหมายเข้าร่วมประชุมหารือ ณ ห้องประชุมพระพิรุณ ตึกอำนวยการ กรมปศุสัตว์

นายสัตวแพทย์ชัยวัฒน์ โยธคล รองอธิบดีกรมปศุสัตว์ กล่าวว่า ที่ประชุมได้แจ้งสถานการณ์โรคกาฬโรคแอฟริกาในม้า (African Horse Sickness) และแนวทางการควบคุมโรค โดยผู้แทนจากสำนักควบคุม ป้องกัน และบำบัดโรคสัตว์ ทั้งนี้ เพื่อให้การเฝ้าระวังและป้องกันโรคดังกล่าวเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ จึงขอให้ปศุสัตว์เขต ปศุสัตว์จังหวัด ในพื้นที่ดำเนินการเฝ้าระวังป้องกันและดำเนินการตามมาตรการป้องกัน ควบคุมโรค เพื่อป้องกันมิให้โรคแพร่ระบาดไปยังพื้นที่อื่นโดยเฉพาะอย่างยิ่งแพร่ระบาดเข้ามายังกรุงเทพมหานคร และปริมณฑล

พร้อมดำนหน้ามาตรการชะลอการเคลื่อนย้ายม้า ทั่วประเทศ ควบคุมการเคลื่อนย้าย กำชับเจ้าหน้าที่กองสารวัตรและกักกัน และขอความร่วมมือเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องได้แก่ ตำรวจ ทหาร ด่านฯ ในการเคลื่อนย้ายม้า ม้าลาย ตรวจสอบอย่างจริงจังและเข้มงวด และเร่งสำรวจและขึ้นทะเบียนม้า พร้อมทั้งจัดชุดเอ็กซเรย์ทางพื้นที่เฝ้าระวังโรคทางอาการ แจ้งเตือนผู้เลี้ยงม้าในพื้นที่ดำเนินการป้องกันและกำจัดแมลงที่เป็นพาหะของโรค พร้อมทั้งกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์แมลงที่เป็นพาหะ รวมทั้งให้เร่งรัดการจัดทำมุ้งและใช้ยาเพื่อป้องกันแมลงที่เป็นพาหะอีกด้วย พร้อมทั้งจัดทำคอกกัก สำหรับแยกม้าที่สงสัยว่าป่วยหรือม้าป่วยออกจากม้าร่วมฝูง

"หากเกษตรกรหรือเจ้าของฟาร์มเลี้ยงม้ารายใดพบว่าสัตว์เลี้ยงของท่านมีอาการผิดปกติ(ซึม ไม่กินอาหาร ตาแดง ขอบตาบวม)ให้รีบแจ้งเจ้าหน้าที่ปศุสัตว์ในพื้นที่ใกล้บ้าน สายด่วนกรมปศุสัตว์ 063-2256888 หรือ application DLD 4.0 โดยด่วน เพื่อเจ้าหน้าที่จะได้ตรวจสอบหาสาเหตุ และทำการรักษาสัตว์เลี้ยงได้อย่างทันท่วงที ก่อนที่จะเกิดความเสียหายในวงกว้างต่อไป"รองอธิบดีกรมปศุสัตว์ กล่าว

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0