โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ทั่วไป

ไข้เลือดออกระบาดหนัก เสียชีวิตแล้ว 43 ราย

MThai.com

เผยแพร่ 14 มิ.ย. 2562 เวลา 12.10 น.
ไข้เลือดออกระบาดหนัก เสียชีวิตแล้ว 43 ราย
สถานการณ์ไข้เลือดออกกำลังระบาดเพิ่มขึ้นเรื่อย โดยในครึ่งปีที่ผ่านมา มีผู้ป่วยเพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมากกว่าปีที่ผ่านมาเกือบ เท่าตัวแล้ว ยอดผู้เสียชีวิตมากกว่า 1 เท่าตัว แม้ว่าจะเป็นเพียงตัวเลขแค่ครึ่งปีเท่านั้น โดยในปี 2562 นี้ มีผู้ป่วยไข้เลือดออกแล้ว 28,785 ราย และมีผู้เสียชีวิตแล้ว…

สถานการณ์ไข้เลือดออกกำลังระบาดเพิ่มขึ้นเรื่อย โดยในครึ่งปีที่ผ่านมา มีผู้ป่วยเพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมากกว่าปีที่ผ่านมาเกือบ เท่าตัวแล้ว ยอดผู้เสียชีวิตมากกว่า 1 เท่าตัว แม้ว่าจะเป็นเพียงตัวเลขแค่ครึ่งปีเท่านั้น

โดยในปี 2562 นี้ มีผู้ป่วยไข้เลือดออกแล้ว 28,785 ราย และมีผู้เสียชีวิตแล้ว 43 ราย ซึ่งจากปีที่ผ่านมาคือ 2561 มีผู้เสียชีวิตเพียง 21 รายเท่านั้น โดยการกระจายตัวของโรคไข้เลือดออกนั้นพบว่า ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีจำนวนผู้ป่วยสูงสุดคือ 10,758 ราย รองลงมาคือในภาคกลาง 10,303 ราย

เด็ก 5-14 ปีเสียชีวิตสูงสุด

ในจำนวนผู้ป่วยเมื่อแยกตามช่วงอายุแล้ว จะพบว่า เด็กในช่วงวัย 5-14 ปี จะมีผู้ป่วยมากที่สุดคือ 11,965 ราย และยอดเสียชีวิตถึง 21 รายด้วยกัน รองลงมาจะเป็นวัย 15-34 ปี มีจำนวนผู้ป่วย 10,654 ราย เสียชีวิต 11 ราย

โดยปัจจัยเสี่ยงของผู้ที่เสียชีวิตนั้น ส่วนใหญ่อาศัยอยู่ในชุมชนที่มีการระบาดของโรคไข้เลือดออก, มีการซื้อยามารับประทานกินเองโดยไม่ไปพบแพทย์ สำหรับกลุ่มผู้สูงอายุนั้นจะเกิดจากการมีโรคประจำตัวร่วมด้วยเช่น ความดันโลหิตสูง โรคอ้วน โรคหัวใจขาดเลือด เบาหวาน เป็นต้น

ก.สาธารณสุขลงนามร่วม 9 หน่วยงาน คุมยุงลาย 5 ปี

โดยจากสถานการณ์ข้างต้นทำให้ กระทรวงสาธารณสุขได้ลงนามร่วม 9 หน่วยงาน คือ กระทรวงกลาโหม กระทรวงมหาดไทย กระทรวงท่องเที่ยวและกีฬา กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติฯ กระทรวงวัฒนธรรม กระทรวงศึกษาธิการ กรุงเทพมหานคร และกระทรวงสาธารณสุข เพื่อร่วมกันจัดการปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมที่เป็นแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย โดยเน้นในสถานที่สำคัญๆ เช่น บ้าน วัด โรงเรียน โรงพยาบาล โรงงาน สถานที่ราชการ เพื่อควบคุมลูกน้ำยุงลาย

เตรียมนำมาตรการทางกฎหมายมาใช้

พร้อมกันนี้ ยังได้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทุกกรมกอง ช่วยกันสำรวจและทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลาย และเมื่อตรวจพบแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำ ยุงลาย จะดำเนินการเข้าควบคุมพื้นที่ทันที

โดยหากพบว่าสถานที่ใดมีแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย ก็จะดำเนินการแจ้งเตือนให้ดำเนินการทันที หากไม่ดำเนินการหรือฝ่าฝืนก็จะมีความผิด มาตรา 74 ตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง กําหนดให้แหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย เป็นเหตุรําคาญ พ.ศ.2545 ภายใต้ พ.ร.บ.การสาธารณสุข พ.ศ.2535 มีโทษจำคุกไม่เกิน 3 เดือน หรือปรับไม่เกิน 25,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0