โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ทั่วไป

มจพ. คิดค้นงานวิจัยบริหารจัดการน้ำโดยทุนวิจัยจาก วช.

เดลินิวส์

อัพเดต 15 มี.ค. 2564 เวลา 14.56 น. • เผยแพร่ 15 มี.ค. 2564 เวลา 09.51 น. • Dailynews
มจพ. คิดค้นงานวิจัยบริหารจัดการน้ำโดยทุนวิจัยจาก วช.
อาจารย์ มจพ.คิดค้นงานวิจัยเพิ่มประสิทธิภาพระบบการบริหารจัดการน้ำเพื่อลดปริมาณการใช้น้ำในต้นทุนที่เหมาะสม นำร่อง จ.กำแพงเพชร โดยทุนวิจัยจาก วช.

ผศ.ดร.ภาณุวัฒน์ ปิ่นทอง หัวหน้าศูนย์วิจัยวิศวกรรมน้ำและโครงสร้างพื้นฐานและอาจารย์ประจำคณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ (มจพ.) ได้รับทุนวิจัย จาก สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) สนับสนุนงานวิจัย การจัดการภัยแล้งในการเพิ่มประสิทธิภาพระบบปฏิบัติการบริหารจัดการน้ำเกษตรกรรมที่เหมาะสมเพื่อลดปริมาณการใช้น้ำเกษตรกรรมและการใช้น้ำต้นทุนที่เหมาะสม ลงพื้นที่ศึกษาโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาท่อทองแดง ต.สระแก้ว อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร พร้อมด้วยนายสุทธิชัย ไพรสันต์ ผู้อำนวยการโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาท่อทองแดง และคณะ ร่วมลงพื้นที่แนะนำโครงการวิจัย ณ สถานที่ติดตั้งเครื่องวัดความชื้นดินในพื้นที่แปลงนาข้าวของเกษตรกร เมื่อวันที่ 12 มีนาคม 2564

ผศ.ดร.ภาณุวัฒน์ ปิ่นทอง เปิดเผยว่า “สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ได้สนับสนุนงานวิจัยภัยแล้งในการเพิ่มประสิทธิภาพระบบปฏิบัติการบริหารจัดการน้ำเกษตรกรรมที่เหมาะสมเพื่อลดปริมาณการใช้น้ำเกษตรกรรมและการใช้น้ำต้นทุนที่เหมาะสม ซึ่งดำเนินการโดยศูนย์วิจัยวิศวกรรมน้ำและโครงสร้างพื้นฐาน มจพ. การดำเนินงานวิจัยได้พัฒนาระบบสนับสนุนการตัดสินใจในการบริหารจัดการน้ำชลประทานที่ได้เชื่อมโยงการทำงานระหว่างแบบจำลองคณิตศาสตร์ร่วมกับเทคโนโลยีการบริหารจัดการพื้นที่เกษตรกรรม ประกอบด้วย ระบบควบคุมปริมาณการระบายน้ำจากอาคารบังคับน้ำ เครื่องมือวัดระดับน้ำแบบอัตโนมัติ และเครื่องมือวัดความชื้นดินในแปลงเกษตรกรรม พร้อมการแบ่งกลุ่มผู้ใช้น้ำที่ใช้น้ำจากคลองเดียวกันเป็น 20 โซน ภายใต้การมีส่วนร่วมจากเกษตรกรในพื้นที่ชลประทานที่เป็นตัวแทนของเครื่องมือวัดความชื้นทั้ง 120 จุด ความสำเร็จของโครงการวิจัยได้บรรลุเป้าหมายในการลดปริมาณการสูญเสียน้ำในการจัดสรรน้ำเข้าพื้นที่ชลประทานโดยเฉลี่ยร้อยละ 15 จากการประเมินความต้องการน้ำตามรูปแบบการส่งน้ำที่เหมาะสมที่เพื่อลดปริมาณการใช้น้ำช่วงฤดูฝน 2563 พบว่า ผลการใช้งานแบบจำลองการส่งน้ำที่พัฒนาขึ้นจากงานวิจัย ซึ่งได้นำข้อมูลความชื้นดินที่มีการตรวจวัดจากแปลงเกษตรกรรมมาพิจารณาร่วมในแบบจำลองการประเมินความต้องการน้ำเพื่อเสนอแนะปริมาณการส่งน้ำที่เหมาะสมทั้งปริมาณและช่วงเวลา พบว่าสามารถลดปริมาณการส่งน้ำเข้าพื้นที่ได้ถึงร้อยละ 21 เมื่อเทียบกับรูปแบบการส่งน้ำแบบเดิม

โดยแบบจำลองดังกล่าวได้พัฒนาเป็นเครื่องมือเชิงปฏิบัติการให้แก่บุคคลากรของโครงการฯ ท่อทองแดง เพื่อใช้ในการติดตามและประมวลสถานการณ์น้ำ การวางแผนการส่งน้ำให้ตรงตามสภาพการเพาะปลูกพืชและสอดรับกับพฤติกรรมการใช้น้ำจริงของเกษตรกร ไปจนถึงการสั่งการควบคุมประตูน้ำได้แบบอัตโนมัติผ่านเวปไซต์และแอปพลิเคชัน นอกจากนี้ยังได้พัฒนาระบบการแจ้งเตือนระดับความชื้นดินรายวันแบบอัตโนมัติผ่านทางแอปพลิเคชัน Line เพื่อให้เกิดประโยชน์แก่เกษตรกรในการประกอบการตัดสินใจทำเกษตรกรรมให้ตรงกับสภาพน้ำ ซึ่งนำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้น้ำภายใต้สถานการณ์ภัยแล้ง และการลดการสูญเสียปริมาณการส่งน้ำที่เกินกว่าความต้องการน้ำของพืช เพื่อการประยุกต์ใช้และปฏิบัติได้อย่างถูกต้องเหมาะสมต่อไป” ผศ.ดร.ภาณุวัฒน์ กล่าว

ซึ่งสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) เล็งเห็นว่าเป็นโครงการที่ประสบผลสำเร็จ และเกษตรกรในพื้นที่ได้ประโยชน์อย่างมาก จึงพร้อมจัดให้มีการขยายต่อยอดโครงการนี้ต่อไปในอนาคต

 

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0

ความเห็น 0

ยังไม่มีความเห็น