โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

Others

สวทช. ผนึก วช. เฟ้นหา ‘เยาวชนคนเก่ง’

PostToday

อัพเดต 11 มี.ค. 2564 เวลา 14.23 น. • เผยแพร่ 11 มี.ค. 2564 เวลา 14.20 น. • webmaster@posttoday.com
สวทช. ผนึก วช. เฟ้นหา ‘เยาวชนคนเก่ง’
สวทช. ผนึก วช. เฟ้นหา ‘เยาวชนคนเก่ง’
สวทช. ผนึก วช. เฟ้นหา ‘เยาวชนคนเก่ง’
สวทช. ผนึก วช. เฟ้นหา ‘เยาวชนคนเก่ง’
สวทช. ผนึก วช. เฟ้นหา ‘เยาวชนคนเก่ง’
สวทช. ผนึก วช. เฟ้นหา ‘เยาวชนคนเก่ง’
สวทช. ผนึก วช. เฟ้นหา ‘เยาวชนคนเก่ง’
สวทช. ผนึก วช. เฟ้นหา ‘เยาวชนคนเก่ง’

เมื่อวานนี้ สวทช. ผนึก วช. เฟ้นหา ‘เยาวชนคนเก่ง’ แข่งขันผลงานด้าน ‘วิทย์ฯ -เทคโนโลยี-นวัตกรรม’ บนเวที ‘NSTIF 2021’ ครั้งแรก เพื่อพัฒนากำลังคนด้านวิทยาศาสตร์ของประเทศ

(11 มีนาคม 2564 ) ที่โถงชั้น 1 อาคารสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ถนนโยธี : ดร.ณรงค์ ศิริเลิศวรกุล ผู้อำนวยการ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) และ ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง ผู้อำนวยการ สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ภายใต้กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ร่วมแถลงข่าวความร่วมมือ “สวทช. ผนึก วช. สร้างเยาวชนคนเก่ง เปิดเวที “การประกวดผลงานวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรมแห่งชาติ ครั้งที่ 1” หรือ ‘NSTIF 2021 ผู้บริหารของทั้ง 2 หน่วยงาน รวมทั้งเปิดเวทีเสวนาในหัวข้อ ‘ความร่วมมือในการพัฒนากำลังคนและความสำเร็จจากวันวาน..สู่วันนี้’ จากศิษย์เก่าโครงการการประกวดโครงงานของนักวิทยาศาสตร์รุ่นเยาว์ หรือ YSC และศิษย์เก่าการแข่งขันพัฒนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์แห่งประเทศไทย หรือ NSC ได้แก่ รศ.ดร.ทวีธรรม ลิมปานุภาพ หัวหน้าสาขาวิชาเคมีจากวิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยมหิดล ในฐานะนักวิทยาศาสตร์รุ่นใหม่ประจำปี 2563 พร้อมด้วย นายณัฎฐ์ ปิยะปราโมทย์ Senior Software Engineer บริษัท Agoda Services Co., Ltd. เพื่อถ่ายทอดประสบการณ์ที่เคยอยู่ในแวดวงนักวิทยาศาสตร์รุ่นเยาว์จนถึงความสำเร็จในวันนี้กับหน้าที่การงานด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีระดับแนวหน้าของไทย

ดร.ณรงค์ ศิริเลิศวรกุล ผู้อำนวยการ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) แถลงว่า สวทช. เป็นหน่วยงานด้านการวิจัยและพัฒนาทางด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม โดยมีพันธกิจในด้านการสร้างและพัฒนาบุคลากรวิจัย นักวิทยาศาสตร์ นักเทคโนโลยีและนวัตกร เพื่อเป็นกำลังสำคัญในการขับเคลื่อนและยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขันด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของประเทศ ทั้งนี้การดำเนินพันธกิจดังกล่าว สวทช. ได้ร่วมมือกับพันธมิตรทั้งภาครัฐและเอกชน โดยมีกลุ่มเป้าหมายหนึ่งที่สำคัญ คือ “เด็กและเยาวชน” เพื่อสร้างแรงบันดาลใจให้เกิดความรักและสนุกกับการเรียนวิทยาศาสตร์

ตลอดระยะเวลาเกือบ 20 ปี นับตั้งแต่ปี 2545 สวทช. ได้จัดงาน “มหกรรมประกวดเทคโนโลยีสารสนเทศแห่งประเทศไทย หรือ IT Contest Festival” ขึ้น และในปีนี้ สวทช. รู้สึกมีความยินดีที่ วช. ซึ่งเป็นอีกหนึ่งพันธมิตรได้เข้ามาร่วมสนับสนุนการแข่งขัน ภายใต้ชื่อใหม่ คือ “การประกวดผลงานวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรมแห่งชาติ ครั้งที่ 1 (The 1st National Science Technology and Innovation Fair 2021 หรือ NSTIF 2021)” ซึ่งจะช่วยเสริมสร้างให้การประกวดผลงานในครั้งนี้มีความยั่งยืนและแข็งแกร่งเชิงวิชาการในระยะยาว

“สวทช. และ วช. ร่วมกันผนึกกำลังจัดประกวดแข่งขันดังกล่าวขึ้น เพื่อเปิดโอกาสให้นักเรียน นักศึกษา ครู อาจารย์ ในทุกภูมิภาคของประเทศ ส่งประกวดผลงานวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม เพื่อเฟ้นหาผู้ชนะเลิศจากการประกวดแข่งขันจาก 2 โครงการ ได้แก่ 1. การประกวดโครงงานของนักวิทยาศาสตร์รุ่นเยาว์ (Young Scientist Competition: YSC) และ 2. การแข่งขันพัฒนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์แห่งประเทศไทย (National Software Contest: NSC) ซึ่งทั้ง 2 โครงการ ได้คัดเลือกผู้ชนะในระดับภูมิภาค เพื่อมาเข้าประกวดแข่งขันในรอบสุดท้ายระดับประเทศ”

ผู้อำนวยการ สวทช. กล่าวต่อว่า เมื่อวันที่ 4 มีนาคมที่ผ่านมาได้มีการจัดการแข่งขันแบบออนไลน์แล้วสำหรับการประกวดโครงงานของนักวิทยาศาสตร์รุ่นเยาว์ (YSC) ซึ่งมีผู้สมัครจากทั่วประเทศกว่า 1,606 โครงงาน (จำนวน 3,988 คน) และได้รับทุนสนับสนุนการพัฒนาโครงงานทั้งสิ้น 285 โครงงาน และผู้ชนะระดับภูมิภาคเข้าประกวดในรอบชิงชนะเลิศ จำนวน 62 โครงงาน (นักเรียนจำนวน 152 คน)

และในวันที่ 5 มีนาคมที่ผ่านมาได้มีการแข่งขันพัฒนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์แห่งประเทศไทย (NSC) มีผู้สมัครเข้าร่วมโครงการทั้งสิ้น 1,394 ผลงาน (จำนวน 3,338 คน)  ได้รับทุนสนับสนุนการพัฒนาผลงานจำนวน 543 ผลงาน และผ่านเข้ารอบชิงชนะเลิศจำนวน 121 ผลงาน (นักเรียน นักศึกษา จำนวน 296 คน) โดยทั้ง 2 โครงการภายใต้เวทีการแข่งขัน การประกวดผลงานวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรมแห่งชาติ ครั้งที่ 1 โดยจะมีประกาศรางวัลในวันที่ 19 มีนาคม 2564 ณ อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย จ.ปทุมธานี จึงขอเชิญชวนประชาชนและทีมที่เข้าร่วมแข่งขันทุกทีม ร่วมเป็นกำลังใจให้กับผู้เข้าแข่งขันรอบชิงชนะเลิศแล้วฟังการประกาศผลไปพร้อมๆ กัน ทางช่องทางออนไลน์ เพจเฟซบุ๊ก: NSTDA-สวทช. สำหรับผู้ชนะเลิศจากเวที NSTIF 2021 การประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์ จะเป็นตัวแทนประเทศไทยเข้าร่วมแข่งขัน Regeneron International Science and Engineering Fair (Regeneron ISEF) ณ สหรัฐอเมริกา ในวันที่ 16-21 พฤษภาคม 2564 ซึ่งถือเป็นเวทีประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์ที่ใหญ่ที่สุดในระดับโลก

ด้าน ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง ผู้อำนวยการ สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กล่าวว่า  วช. ได้มีการให้ทุนสนับสนุนแก่เยาวชนผ่านเครือข่ายศูนย์ประสานงานภูมิภาค YSC จำนวน 6 หน่วยงาน ได้แก่ มหาวิทยาลัยนเรศวร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ และมหาวิทยาลัยศิลปากร เพื่อพัฒนาผลงาน เข้าประกวดในโครงการ YSC

และให้ทุนสนับสนุนแก่เยาวชนผ่านเครือข่ายมหาวิทยาลัยภูมิภาค จำนวน 6 แห่ง ได้แก่ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยขอนแก่น มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ มหาวิทยาลัยบูรพา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และ มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์ เพื่อพัฒนาผลงานสำหรับแข่งขันในโครงการ NSC อีกทั้งยังมีความร่วมมือกับ สวทช. ในการจัดการประกวดผลงานวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมแห่งชาติครั้งที่ 1 ประกอบด้วยโครงการการประกวดโครงงานของนักวิทยาศาสตร์รุ่นเยาว์ (Young Scientist Competition : YSC) และโครงการการแข่งขันพัฒนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์แห่งประเทศไทย (The National Software Contest : NSC) ซึ่งจะเป็นเวทีที่สร้างและพัฒนาเยาวชนให้มีความพร้อมในการเป็นนักประดิษฐ์ที่มีคุณภาพ และศักยภาพ เพื่อเติบโตเป็นนวัตกรที่สำคัญของประเทศต่อไปในอนาคต

(11 มีนาคม 2564 ) ที่โถงชั้น 1 อาคารสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ถนนโยธี : ดร.ณรงค์ ศิริเลิศวรกุล ผู้อำนวยการ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) และ ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง ผู้อำนวยการ สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ภายใต้กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ร่วมแถลงข่าวความร่วมมือ “สวทช. ผนึก วช. สร้างเยาวชนคนเก่ง เปิดเวที “การประกวดผลงานวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรมแห่งชาติ ครั้งที่ 1” หรือ ‘NSTIF 2021 ผู้บริหารของทั้ง 2 หน่วยงาน รวมทั้งเปิดเวทีเสวนาในหัวข้อ ‘ความร่วมมือในการพัฒนากำลังคนและความสำเร็จจากวันวาน..สู่วันนี้’ จากศิษย์เก่าโครงการการประกวดโครงงานของนักวิทยาศาสตร์รุ่นเยาว์ หรือ YSC และศิษย์เก่าการแข่งขันพัฒนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์แห่งประเทศไทย หรือ NSC ได้แก่ รศ.ดร.ทวีธรรม ลิมปานุภาพ หัวหน้าสาขาวิชาเคมีจากวิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยมหิดล ในฐานะนักวิทยาศาสตร์รุ่นใหม่ประจำปี 2563 พร้อมด้วย นายณัฎฐ์ ปิยะปราโมทย์ Senior Software Engineer บริษัท Agoda Services Co., Ltd. เพื่อถ่ายทอดประสบการณ์ที่เคยอยู่ในแวดวงนักวิทยาศาสตร์รุ่นเยาว์จนถึงความสำเร็จในวันนี้กับหน้าที่การงานด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีระดับแนวหน้าของไทย

ดร.ณรงค์ ศิริเลิศวรกุล ผู้อำนวยการ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) แถลงว่า สวทช. เป็นหน่วยงานด้านการวิจัยและพัฒนาทางด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม โดยมีพันธกิจในด้านการสร้างและพัฒนาบุคลากรวิจัย นักวิทยาศาสตร์ นักเทคโนโลยีและนวัตกร เพื่อเป็นกำลังสำคัญในการขับเคลื่อนและยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขันด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของประเทศ ทั้งนี้การดำเนินพันธกิจดังกล่าว สวทช. ได้ร่วมมือกับพันธมิตรทั้งภาครัฐและเอกชน โดยมีกลุ่มเป้าหมายหนึ่งที่สำคัญ คือ “เด็กและเยาวชน” เพื่อสร้างแรงบันดาลใจให้เกิดความรักและสนุกกับการเรียนวิทยาศาสตร์

ตลอดระยะเวลาเกือบ 20 ปี นับตั้งแต่ปี 2545 สวทช. ได้จัดงาน “มหกรรมประกวดเทคโนโลยีสารสนเทศแห่งประเทศไทย หรือ IT Contest Festival” ขึ้น และในปีนี้ สวทช. รู้สึกมีความยินดีที่ วช. ซึ่งเป็นอีกหนึ่งพันธมิตรได้เข้ามาร่วมสนับสนุนการแข่งขัน ภายใต้ชื่อใหม่ คือ “การประกวดผลงานวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรมแห่งชาติ ครั้งที่ 1 (The 1st National Science Technology and Innovation Fair 2021 หรือ NSTIF 2021)” ซึ่งจะช่วยเสริมสร้างให้การประกวดผลงานในครั้งนี้มีความยั่งยืนและแข็งแกร่งเชิงวิชาการในระยะยาว

“สวทช. และ วช. ร่วมกันผนึกกำลังจัดประกวดแข่งขันดังกล่าวขึ้น เพื่อเปิดโอกาสให้นักเรียน นักศึกษา ครู อาจารย์ ในทุกภูมิภาคของประเทศ ส่งประกวดผลงานวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม เพื่อเฟ้นหาผู้ชนะเลิศจากการประกวดแข่งขันจาก 2 โครงการ ได้แก่ 1. การประกวดโครงงานของนักวิทยาศาสตร์รุ่นเยาว์ (Young Scientist Competition: YSC) และ 2. การแข่งขันพัฒนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์แห่งประเทศไทย (National Software Contest: NSC) ซึ่งทั้ง 2 โครงการ ได้คัดเลือกผู้ชนะในระดับภูมิภาค เพื่อมาเข้าประกวดแข่งขันในรอบสุดท้ายระดับประเทศ”

ผู้อำนวยการ สวทช. กล่าวต่อว่า เมื่อวันที่ 4 มีนาคมที่ผ่านมาได้มีการจัดการแข่งขันแบบออนไลน์แล้วสำหรับการประกวดโครงงานของนักวิทยาศาสตร์รุ่นเยาว์ (YSC) ซึ่งมีผู้สมัครจากทั่วประเทศกว่า 1,606 โครงงาน (จำนวน 3,988 คน) และได้รับทุนสนับสนุนการพัฒนาโครงงานทั้งสิ้น 285 โครงงาน และผู้ชนะระดับภูมิภาคเข้าประกวดในรอบชิงชนะเลิศ จำนวน 62 โครงงาน (นักเรียนจำนวน 152 คน)

และในวันที่ 5 มีนาคมที่ผ่านมาได้มีการแข่งขันพัฒนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์แห่งประเทศไทย (NSC) มีผู้สมัครเข้าร่วมโครงการทั้งสิ้น 1,394 ผลงาน (จำนวน 3,338 คน)  ได้รับทุนสนับสนุนการพัฒนาผลงานจำนวน 543 ผลงาน และผ่านเข้ารอบชิงชนะเลิศจำนวน 121 ผลงาน (นักเรียน นักศึกษา จำนวน 296 คน) โดยทั้ง 2 โครงการภายใต้เวทีการแข่งขัน การประกวดผลงานวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรมแห่งชาติ ครั้งที่ 1 โดยจะมีประกาศรางวัลในวันที่ 19 มีนาคม 2564 ณ อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย จ.ปทุมธานี จึงขอเชิญชวนประชาชนและทีมที่เข้าร่วมแข่งขันทุกทีม ร่วมเป็นกำลังใจให้กับผู้เข้าแข่งขันรอบชิงชนะเลิศแล้วฟังการประกาศผลไปพร้อมๆ กัน ทางช่องทางออนไลน์ เพจเฟซบุ๊ก: NSTDA-สวทช. สำหรับผู้ชนะเลิศจากเวที NSTIF 2021 การประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์ จะเป็นตัวแทนประเทศไทยเข้าร่วมแข่งขัน Regeneron International Science and Engineering Fair (Regeneron ISEF) ณ สหรัฐอเมริกา ในวันที่ 16-21 พฤษภาคม 2564 ซึ่งถือเป็นเวทีประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์ที่ใหญ่ที่สุดในระดับโลก

ด้าน ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง ผู้อำนวยการ สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กล่าวว่า  วช. ได้มีการให้ทุนสนับสนุนแก่เยาวชนผ่านเครือข่ายศูนย์ประสานงานภูมิภาค YSC จำนวน 6 หน่วยงาน ได้แก่ มหาวิทยาลัยนเรศวร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ และมหาวิทยาลัยศิลปากร เพื่อพัฒนาผลงาน เข้าประกวดในโครงการ YSC

และให้ทุนสนับสนุนแก่เยาวชนผ่านเครือข่ายมหาวิทยาลัยภูมิภาค จำนวน 6 แห่ง ได้แก่ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยขอนแก่น มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ มหาวิทยาลัยบูรพา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และ มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์ เพื่อพัฒนาผลงานสำหรับแข่งขันในโครงการ NSC อีกทั้งยังมีความร่วมมือกับ สวทช. ในการจัดการประกวดผลงานวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมแห่งชาติครั้งที่ 1 ประกอบด้วยโครงการการประกวดโครงงานของนักวิทยาศาสตร์รุ่นเยาว์ (Young Scientist Competition : YSC) และโครงการการแข่งขันพัฒนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์แห่งประเทศไทย (The National Software Contest : NSC) ซึ่งจะเป็นเวทีที่สร้างและพัฒนาเยาวชนให้มีความพร้อมในการเป็นนักประดิษฐ์ที่มีคุณภาพ และศักยภาพ เพื่อเติบโตเป็นนวัตกรที่สำคัญของประเทศต่อไปในอนาคต

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0

ความเห็น 0

ยังไม่มีความเห็น