โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ทั่วไป

"ปทุมธานี"โควิด-19พุ่ง หวั่นกระจายเชื้อได้กว้าง

กรุงเทพธุรกิจ

อัพเดต 16 ก.พ. 2564 เวลา 05.37 น. • เผยแพร่ 16 ก.พ. 2564 เวลา 05.34 น.

เมื่อเวลา 11.30 น. วันที่ 16 ก.พ.2564 ทำเนียบรัฐบาล นพ.ทวีศิลป์ วิษณุโยธิน โฆษกศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรค โควิด-19(ศบค.) รายงานสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ในประเทศไทย ว่าผู้ติดเชื้อรายใหม่ 72 ราย พบจากระบบเฝ้าระวังและบริการ 21 รายในจ.สมุทรสาคร 16 ราย ส่วนใหญ่เป็นชาวเมียนมา นครปฐม 1 ราย สมุทรปราการ 2 ราย ปทุมธานี 1 ราย และขอนแก่น 1 ราย การคัดกรองเชิงรุกในชุมชน 48 ราย ในจ.ปทุมธานี 47 ราย เกี่ยวข้องกับตลาด เป็นคนไทย 26 ราย เมียนมา 18 ราย ลาว 2 ราย กัมพูชา 1 ราย และพระนครศรีอยุธา 1 ราย และกลุ่มผู้เดินทางมาจากต่างประเทศและเข้าสถานกักกันโรค(Quarantine) 3 ราย ผู้ป่วยรวมสะสม 24,786 ราย เสียชีวิตสะสม 82 ราย เฉพาะระลอกใหม่ 20,549 ราย เสียชีวิตสะสม 22 ราย

หวั่นปทุมเชื้อกระจายกว้าง
“ปทุมธานีเป็นการติดเชื้ออยู่ในตลาด วันนี้ผู้ติดเชื้อรายใหม่ส่วนใหญ่เป็นชาวไทย ซึ่งตรงนี้ก็มีความหมาย เพราะว่า ถ้าคนไทยติดเชื้อมากกว่าต่างชาติ จะต้องมีการดูแลสุขอนามัยส่วนตัวอย่างดี นั่นหมายถึงว่าชุมชนส่วนใหญ่ถ้าเป็นแรงงานต่างด้าวจะอยู่กันเป็นกลุ่มๆ แต่เมื่อเป็นคนไทยจะมีระบบของการแพร่กระจายเชื้อได้กว้างกว่า เป็นสิ่งที่จะต้องระวังสำหรับชาวปทุมธานี ซึ่งได้มีการวิเคราห์ว่าการค้นหาเชิงรุกยังปูพรมทำอยู่ ส่วนพื้นฐานของการแพร่เชื้อคือมีลักษณะของแม่ค้าในตลาดไปพบปะบุคคลมากมาย”นพ.ทวีศิลป์กล่าว

 14 จ.ยังไม่พบติดเชื้
นพ.ทวีศิลป์ กล่าวอีกว่า จังหวัดที่ยังไม่เคยพบผู้ติดเชื้อในการระบาดรอบใหม่ 14 จังหวัด ได้แก่ ศรีสะเกษ บึงกาฬ ยโสธร กาฬสินธุ์ สกลนคร มุกดาหาร แพร่ พะเยา แม่ฮ่องสอน อุทัยธานี พังงา ชุมพร ปัตตานี และยะลา ส่วนกรณีคลัสเตอร์จุฬานิวาส ที่มีผู้ติดเชื้อรวมแล้ว 22 ราย ซึ่งจากการศึกษาผลการสอบสวนโรค พบว่ามี 5 กิจกรรมที่ต้องมีการป้องกัน คือ 1.พักอาศัยในที่เดียวกัน2.ทำงานร่วมกัน 3.กิจกรรมรับประทานอาหาร่วมกัน 4.กิจกรรมรวมแถวรปภ.ร่วมกัน และ5.จุดสแกนนิ้ว เพราะมีการพบเชื้ออยู่จุดสแกนนิ้วด้วย เพราะฉะนั้น สถานที่อื่นๆให้เรียนรู้และป้องกันจุดและกิจกรรมเสี่ยงที่อาจจะทำให้เกิดการแพร่กระจายเชื้อ

 ต้องการให้บุคลากรฯได้วัคซีนก่อน
นพ.ทวีศิลป์ กล่าวอีกว่า การสำรวจความคิดเห็นต่อการฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19 ดำเนินการโดยสำนักคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ(วช.)ผ่านเครือข่ายราชภัฎ 38 แห่ง เก็บข้อมูลจาก 77 จังหวัด จำนวน 33,754 คน ระหว่างวันที่ 13-14 ก.พ. 2564 พบว่า เห็นว่ากลุ่มที่ควรได้วัคซีนก่อนในลำดับแรก เป็นบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุข 74.47% ผู้มีโรคประจำตัว 51.85 % และผู้สูงอายุ 50.71 %

 22ก.พ.ถกผ่อนคลายจังหวัด
นพ.ทวีศิลป์ กล่าวด้วยว่า ในวันที่ 18 ก.พ. 2564 คณะกรรมการเฉพาะกิจจะมีการหารือถึงข้อเสนอในการผ่อนคลายมาตรการต่างๆ เสนอใน 2 แนวทาง คือ 1.ผ่นคลายกิจกรรมต่างๆ เช่น การแข่งขันกีฬา กิจการต่างๆ การค้าขาย การดื่มต่างๆ และ2.ขยับเปลี่ยนสีระดับจังหวัดจากเดิม โดยส่วนใหญ่มีการโน้มเอียงมาทางการขยับเปลี่ยนสีจังหวัด จากนั้นจะมีการเสนอเข้าสู่การพิจารณาของศบค.ชุดใหญ่ที่มีนายกรัฐมนตรีเป็นประธานในวันที่ 22 ก.พ. 2564

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0