กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์และเครือข่ายห้องปฏิบัติการที่สามารถทำการตรวจรหัสพันธุกรรมได้จากการเฝ้าระวังการกลายพันธุ์ของเชื้อไวรัส Covid 19 กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ได้ตรวจรหัสพันธุกรรมจากตัวอย่างที่ส่งมาจากแคมป์คนงานก่อสร้าง และบริเวณใกล้เคียง จำนวน 80 ตัวอย่าง พบว่าเป็น "สายพันธุ์อินเดีย" (B.1.617.2) จำนวน 36 ราย เป็นคนไทย 21 ราย คนงานชาวเมียนมา 10 รายและกัมพูชา 5 ราย ที่เหลือเป็นสายพันธุ์อังกฤษ (B.1.1.7)
อีกทั้ง มีตัวอย่างจากการค้นหาเชิงรุก จากพื้นที่อื่นใน กทม.อีก 2 แห่ง แต่พบเป็นสายพันธุ์อังกฤษทั้งหมด ซึ่งขณะนี้ในประเทศไทย เชื้อที่พบจะเป็นสายพันธุ์อังกฤษ 87% เพิ่งตรวจพบ "สายพันธุ์อินเดีย"และจะได้ขยายการนำตัวอย่างจากคลัสเตอร์อื่นๆ มาตรวจรหัสพันธุกรรม เพื่อดูการกระจายตัวต่อไป
- “หมอยง” ยืนยันวัคซีนโควิด ทางรอดหยุดการระบาด
วันนี้ (21 พ.ค. 2564) ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิยาคลินิก คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวในงานเสวนาเรื่องโควิด-19 กับความกลัว กลัวโควิด กลัววัคซีน กลัวอด จัดโดยสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ ว่า สิ่งที่จะหยุดการระบาดโควิด19 ได้ คือ การ "ฉีดวัคซีน"ให้เกิดภูมิคุ้มกันหมู่ในประชากรอย่างน้อยร้อยละ 70 หรือ 50 ล้านคน โดยฉีด 100 ล้านโดส ให้เสร็จภายในปีนี้
สำหรับความรุนแรงของโรคโควิด-19 จากการได้เห็นจำนวนคนไข้ จะทำให้ปอดบวม ไม่สามารถแลกออกซิเจนได้ แล้วเห็นความทรมานของคนไข้แล้ว บอกได้เลยว่า ฉีดวัคซีนดีกว่า แม้"วัคซีน"นฉีดแล้วมีไข้ แต่หากได้เห็นคนไข้ต้องนอนคว่ำ โดยเฉพาะคนอ้วนจะทรมานมาก แล้วหากต้องใส่ท่อช่วยหายใจด้วยเพื่อยื้อชีวิตเป็นเรื่องน่ากลัวมาก
- ยืนยัน “แอสตร้าเซเนก้า” ป้องกัน “สายพันธุ์อินเดีย”ได้
ศ.นพ.ยง กล่าวอีกว่า ความรุนแรงของ "สายพันธุ์อินเดีย"และ"วัคซีน"ที่ไทยใช้อยู่ทั้ง 2 ตัวได้แก่ ซิโนแวค กับ แอสตร้าเซเนก้า จะสามารถป้องกันได้หรือไม่นั้น "สายพันธุ์อินเดีย"ระบาดที่ประเทศอังกฤษก่อนประเทศไทย ขณะนี้อังกฤษก็กลัวมากว่า สายพันธุ์อินเดียจะแพร่ระบาดได้เร็วกว่าสายพันธุ์อังกฤษ แต่เมื่อศึกษาในรายละเอียดแล้ว ก็พบว่า สายพันธุ์อินเดียไม่ได้รุนแรงไปกว่าสายพันธุ์อังกฤษ แต่ระบาดได้เร็วกว่า ส่วนประสิทธิภาพของ"วัคซีน"นั้น นายบอรีส จอห์นสัน นายกรัฐมนตรีอังกฤษ ก็แถลงข่าวยืนยันว่า วัคซีนที่อังกฤษใช้คือ แอสตราเซเนกา สามารถป้องกัน"สายพันธุ์อินเดีย"ได้
สำหรับอัตราการตายของโรคโควิด-19 พบว่า คนไข้ 100 คน เสียชีวิต 2-3 คน ก็ถือว่าสูงมาก โดยผู้สูงอายุมีอัตราการเสียชีวิตมากกว่าคนอายุน้อย ยิ่งอายุมากยิ่งเสียชีวิตมาก ส่วนคนอายุน้อยเสียชีวิตน้อยมาก และหากปล่อยให้โรคนี้ระบาดต่อเนื่อง ก็เชื่อว่า จะทำให้อายุเฉลี่ยของคนทั่วโลกลดลง เพราะทำให้ตายก่อนวัย อายุเฉลี่ยจึงลดลง
- ร้อยละ 96-97 กทม.-ปริมณฑล สายพันธุ์อังกฤษระบาด
ศ.นพ.ยง กล่าวต่อว่าในส่วนของสายพันธุ์ที่ระบาดในประเทศไทย พบว่า เขตกรุงเทพฯและปริมณฑลที่มีการระบาดในขณะนี้ ร้อยละ 96-97 จะเป็น สายพันธุ์อังกฤษ และล่าสุดที่สร้างความแตกตื่นอย่างมโหฬาร คือ การพบ "สายพันธุ์อินเดีย" ในแคมป์คนงานหลักสี่ โดย"สายพันธุ์อินเดีย" มีการระบาดได้ง่ายกว่าสายพันธุ์อังกฤษ ดังนั้นการป้องกันการระบาดต้องมีการควบคุมให้เร็ว ส่วนความรุนแรงและจะมีผลต่อวัคซีนมากน้อยเพียงใดก็อยู่ในระหว่างการติดตามศึกษา และวินิจฉัยให้เร็ว
สำหรับเรื่อง"วัคซีน"ของคนไทย ต้องยอมรับว่า เมื่อไม่มี"วัคซีน" ก็ร้องหาวัคซีน พอมี"วัคซีน"ก็จะเลือก เช่น ฉีด "ซิโนแวค"เข็มแรก ส่วนเข็มสองจะขอฉีด"แอสตร้าเซเนก้า" เมื่อมีวัคซีนทางเลือกเข้ามา ก็จะขอฉีดวัคซีนทางเลือก ทั้งโมเดอนา ไฟเซอร์ เป็นต้น ซึ่งเราคงไม่สามารถปิดกั้นความต้องการของคนไทยได้ ก็เป็นหน้าที่ของพวกเราที่จะต้องเร่งศึกษาวิจัยเพื่อให้ความรู้กับประชาชน โดยเฉพาะการฉีด"วัคซีน"เข็มที่สาม ควรจะฉีดในช่วงระยะเวลาใดจึงจะเหมาะสม เช่น หลังฉีดเข็มที่สองแล้ว 3 เดือน 6 เดือน หรือ 1 ปี ซึ่งขณะนี้กำลังเร่งศึกษาวิจัยอยู่
ข่าวที่เกี่ยวข้อง: ไขข้อข้องใจ 'สายพันธุ์อินเดีย' อันตรายแค่ไหน?
'โควิดอินเดีย' อันตรายแค่ไหน? รู้และป้องกันก่อนจะระบาดทั่วโลก
‘ไฟเซอร์-โมเดอร์นา’ ยับยั้งโควิดสายพันธุ์อินเดียได้
- เตือน "สายพันธุ์อินเดีย" แยงจมูกไม่เจอเชื้ออยู่ลึกในปอด
ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา ผู้อำนวยการศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์แสดงความคิดเห็นผ่านเฟสบุ๊ค ชื่อ ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา Thiravat Hemachudha โดยระบุว่า "โควิด-19" มีการปรับเปลี่ยนหน้าตาจนกลายเป็นที่เรียกว่าสายพันธุ์ ที่ต้องจับตามองด้วยความกังวลสูง ไปจนถึงที่ก่อให้เกิดผลกระทบต่อเนื่อง ล้วนแล้วแต่เกิดจากการระบาดที่รุนแรงแรงกว้างขวางจนเกิดการวิวัฒน์ ให้มีความเก่งกาจขึ้น ตั้งแต่สายพันธุ์อังกฤษ, แอฟริกาใต้, บราซิล, ฟิลิปปินส์ และจน "สายพันธุ์อินเดีย" ที่ถูกจัดจากองค์การอนามัยโลกให้ทั่วโลกจับตา และในอีกไม่ช้าไม่นาน ถ้าสถานการณ์คุมไม่ได้ในพื้นที่ใดพื้นที่หนึ่งก็จะเกิดมีสายใหม่เกิดขึ้นอีก
สำหรับ "สายพันธุ์อินเดีย" มีการตรวจพบมานานพอสมควรในประเทศไทย หลายรายด้วยกันแล้วในสถานกักตัว ทั้งนี้มีการตั้งข้อสังเกตจากหมอและนักวิทยาศาสตร์อินเดียและหลายกลุ่ม ในไวรัสสายพันธุ์นี้มานานพอสมควร ที่ว่าสามารถ
ทั้งนี้ ยังรวมไปถึงภูมิคุ้มกันที่ได้จากการติดเชื้อครั้งแรกจากโควิดธรรมดา และเมื่อติดเชื้อสายใหม่นี้ สามารถมองเห็นจับได้ แต่ไม่ยับยั้งไวรัสและกลับจับไวรัสไปส่งให้เซลล์ที่มีหน้าที่ป้องกันไวรัส โดยมีหน้าที่ทำลายเซลล์ที่ติดเชื้อ แต่กลับปล่อยสารอักเสบขึ้นมาแทนเลยเป็นอันตรายต่อเนื้อเยื่อและต่อทุกระบบในร่างกาย
อย่างไรก็ตาม ตั้งแต่กลางปีนี้ ถ้ามี "สายพันธุ์อินเดีย"และแพร่คนไทยสู่คนไทย ต้องระวังการตรวจจับอาจไม่แม่นยำเพราะเชื้อชอบลงลึกในปอด แยงจมูกไม่เจอ กระบวนการตรวจ พีซีอาร์ อาจจับได้ไม่หมด เพราะรหัสพันธุกรรมเพี้ยน ดังนั้น ถ้าแพร่ไป อาจมีปัญหากับ"วัคซีน" ขณะนี้ทั่งหมด การคัดกรองที่เร็วที่สุด คือการตรวจเลือดว่าติดเชื้อหริอไม่ เช่นตรวจด้วย อีไลซ่า รพ มากมายมี และ ทำง่ายกว่า การแยงจมูก พีซีอาร์ ถ้าตรวจเลือดเป็นบวกโดยยังไม่ได้ฉีดวัคซีน แยกตัวทันทีจากคนอื่นและกักตัว 14 วัน ทั้งนี้โดยที่จะแยงจมูกต่อหรือไม่ก็ตามแต่ นั่นก็คือคัดกรองเร็วที่สุดแล้วแยกตัวเร็วที่สุด
- ย้ำไม่ว่าจะสายพันธุ์ไหน ต้องหาผู้ติดเชื้อให้เร็วที่สุดเพื่อแยกตัวออก
ถือเป็นบาปที่ภูมิคุ้มกัน ไม่รู้จักปรับตัวพัฒนาขึ้นมาสู้กับของใหม่ และในลำดับต่อไป ถ้าไวรัสมีการปรับเปลี่ยนส่วนท่อนต่างๆ ที่ปกติออกแบบมาอยู่แล้วเพื่อก่อโรคให้มีความรุนแรง และกลับรุนแรงขึ้นไปอีก จนมีปัญหาในการรักษาและรวมไปกระทั่งถึงดื้อยาที่ใช้ได้ผลอยู่ในปัจจุบัน จะกลายเป็น สายที่ก่อให้เกิดผลกระทบอย่างสูง ทั้งหมดนี้สามารถชนะได้ด้วย"วัคซีน"พร้อมกับมีวินัยทั้งทางบุคคลและทางสังคมอย่างเข้มข้น พยายามสงบการระบาดให้นิ่งที่สุดเท่าที่จะทำได้
อย่างไรก็ตาม สายใหม่เหล่านี้ ต้องเล็ดลอดเข้ามาไม่ช้าก็เร็ว และแพร่ระหว่างคนไทยสู่คนไทย แต่ทั้งหมดเพื่อเป็นการซื้อเวลา เพื่อรอวัคซีนพัฒนารุ่นที่สองต่อไป และไม่ว่าจะเป็นสายพันธุ์ไหน เป้าหมายคือต้องหาคนติดเชื้อให้ได้เร็วที่สุดเพื่อแยกตัวออก
ตรวจเลือดหาแอนติบอดี (antibody) คือหาหลักฐานการติดเชื้อโควิดไม่ว่าสายพันธุ์ใดก็ตาม
เมือพบหลักฐานไม่ว่าจะเป็น IgM หรือ IgG หรือทั้ง 2 อย่าง หรือแม้แต่ พบภูมิที่สามารถยับยั้งไวรัสได้ก็ตาม (neutralizing antibody)
1. แยกต้วไว้ก่อน 2.หาต่อว่าปล่อยเชื้อได้หรือไม่ 3.แลัวหาว่าเป็นสายพันธุ์อะไร เพื่อดูสัดส่วนของคนติดเชื้อว่าจะมีกลุ่มที่ "วัคซีน"ปัจจุบันอาจได้ผลไม่เต็มที่ ถ้าไม่ใช่สายพันธุ์ปกติ การตรวจเลือด ยกเว้น คนที่ฉีดวัคซีน แอสตร้าตั้งแต่เข็มแรกไป2 อาทิตย์ แล้ว และ ซิโนแวค เข็ม สองไป 7-10 วันไปแล้ว เพราะเลือดจะได้บวกเช่นกัน
ความเห็น 0