โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ไอที ธุรกิจ

วช.โชว์นักวิจัยดีเด่น 'สาขาวิทยาศาสตร์เคมีและเภสัช' แม่ทัพหลักเภสัชจลนศาสตร์!

กรุงเทพธุรกิจ

อัพเดต 19 มี.ค. 2564 เวลา 10.11 น. • เผยแพร่ 19 มี.ค. 2564 เวลา 09.41 น.

รวมทั้งเป็นกิจกรรมที่ส่งเสริมการสร้างแรงจูงใจของนักประดิษฐ์ และนักวิจัยในอันที่จะพัฒนานวัตกรรมทางความคิด และภูมิปัญญาที่เป็นประโยชน์ สร้างความก้าวหน้าในศาสตร์แขนงต่าง ๆ ซึ่งในวันนี้ วช. ได้มีการเปิดตัว 1 นักวิจัย ผู้ที่ได้รางวัลนักวิจัยดีเด่นแห่งชาติ ประจำปี 2564 จากจำนวน 7 ท่าน ใน 5 สาขา ได้แก่ ศาสตราจารย์ ดร.เกศรา  ณ บางช้าง ซึ่งเป็นนักวิจัยดีเด่นแห่งชาติ สาขาวิทยาศาสตร์เคมีและเภสัช ประจำปี 2564

161614858727
161614858727

ศาสตร์จารย์ ดร.เกศรา ณ บางช้าง ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยค้นคว้าและพัฒนายา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ผู้อำนวยการบัณฑิตศึกษา วิทยาลัยแพทยศาสตร์นานาชาติจุฬาภรณ์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เป็นบุคคลสำคัญทางด้านวิทยาศาสตร์เคมีและเภสัชเป็นอย่างมาก โดยผลงานรางวัลสำคัญ ไม่ว่าจะเป็น นักวิทยาศาสตร์รุ่นใหม่ (2538) โดยมูลนิธิส่งเสริมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในพระราชนูปถัมภ์ ,เมธีวิจัยอาวุโส (2563-2565) และอื่นๆอีกมากมาย  ทั้งนี้ยังมีผลงานในด้านบทความวิจัย และบทความวิชาการตีพิมพ์ในวารสารระดับนานาชาติ 374 เรื่อง อีกทั้งตำราระดับนานาชาติ ฯลฯ ซึ่งอาจารย์เกศรา ได้กล่าวถึงจุดเริ่มต้นว่ามาจากการที่มีความสนใจศึกษาค้นคว้าในด้านเภสัชวิทยา ผ่านการศึกษาเกี่ยวกับร่างกายมนุษย์จากการใช้ยา เพื่อที่จะจัดการกับร่างกาย ซึ่งเป็นการบูรณาการองค์ความรู้ของงานวิจัยจึงมีความสนใจในด้านนี้  ส่วนผลงานที่โดดเด่นและสร้างคุณประโยชน์อย่างมาก คือ การสร้างองค์ความรู้การวิจัยที่สำคัญทางเภสัชวิทยาของโรคมาลาเรีย ที่ทำการวิจัยเกี่ยวกับฤทธิ์ฆ่าเชื้อของยา การดื้อยา เภสัชจลนศาสตร์ของยาในร่างกาย อาการข้างเคียง และอื่นๆ จนทำให้เกิดผลกระทบที่มีประโยชน์ในวงกว้าง เป็นผู้ที่มีส่วนสำคัญในการผลักดันงานวิจัยทางด้านมาลาเรียในประเทศไทยให้ได้มาตรฐานสากลจนเป็นที่ยอมรับในระดับนานาชาติ โดยมีนักวิชาการและนักวิจัยทั้งชาวไทย และชาวต่างประเทศให้ความสนใจ ติดตาม และนำผลงานวิจัยไปศึกษาวิจัยต่อยอด อีกทั้งโรคมะเร็งท่อน้ำดี ที่ได้มีการค้นหาตัวบ่งชี้ในเลือดของผู้ป่วยเพื่อการวินิจฉัยมะเร็งท่อน้ำดีระยะเริ่มต้น ประกอบกับการวิจัยค้นคว้าและพัฒนายาเพื่อควบคุมโรคมะเร็วท่อน้ำดี หรือที่เรียกว่า 'โกฐเขมา' ซึ่งระยะแรกปี 63 ที่ผ่านมาอยู่ระหว่างการทดลองในคนระยะแรกโดยเป็นบุคคลปกติ ผลที่ออกมาคือปลอดภัยดีไม่มีอาการแทรกซ้อน 

161614860388
161614860388

ส่วนในระยะที่สองต่อจากนี้จะทำการทดลองในผู้ป่วยมะเร็งท่อน้ำดี ซึ่งได้มีการร่วมกับบริษัท ขาวละออ เพื่อพัฒนาให้ได้ในระดับสเกลใหญ่ขึ้นรองรับความต้องการของภาคอุตสาหกรรม โดยจะทดสอบกับผู้ป่วยในโรงพยาบาล และภายในสิ้นปี 64 จะก้าวสู่ระยะที่ 3 ที่จะพัฒนาศักยภาพเพิ่มขึ้นและหากเป็นไปด้วยดีจะทำการขึ้นทะเบียน ซึ่งผู้ป่วยสามารทานควบคุมได้โดยจะเป็นการทานเสมือนอาหารเสริม เพราะอย่างไรก็ตามมะเร็งท่อน้ำดีส่วนหนึ่งต้นเหตุจะมาจากการรับประทานอาหารของผู้คน ดังนั้นเมื่อไม่สามารถเปลี่ยนบริบทการกินได้ จึงต้องทานควบคู่ไป "ทั้งนี้หากมีการนำไปใช้จริงกับผู้ป่วยมะเร็งท่อน้ำดีคาดว่าจะไม่ใช่การใช้เพียงลำพัง ซึ่งต้องมีการใช้ร่วมกับยาปฏิชีวนะ และทำการลดขนาดโกฐเขมาให้ต่ำลง ทั้งนี้อนาคตคาดว่าจะสามารถต่อยอดสู่ผู้ป่วยมะเร็งใกล้เคียงอย่าง มะเร็งตับได้ ซึ่งตรงจุดนี้เป็นเพียงสมมุติฐานแต่คาดว่าจะมีความเป็นไปได้สูง"

161614861724
161614861724
161614863338
161614863338

ด้าน ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ กล่าวว่า วช. มอบรางวัลนักวิจัยดีเด่นแห่งชาติ ให้กับศาสตราจารย์ ดร.เกศรา ณ บางช้าง เพราะเป็นนักวิจัยที่มีความคิดริเริ่ม และอุทิศตนเพื่องานวิจัย อย่างต่อเนื่อง เช่น งานวิจัยทางเภสัชจลนศาสตร์ งานวิจัยได้รับทุนสนับสนุนการวิจัยจากองค์กรการวิจัย ต่าง ๆ ทั้งภาครัฐและเอกชนในการวิจัยโรคมาลาเรีย และมะเร็ง ท่อน้ำดี รวมถึงองค์การระดับนานาชาติ เช่น องค์การอนามัยโลก (UNDP World Bank Special Program for Research and Training in Tropical Diseases: WHO/TDR) ในฐานะผู้อำนวยการ ศูนย์ประสานงานและฝึกอบรมด้านการวิจัยคลินิกขององค์การอนามัยโลกภาคพื้นเอเซียแปซิฟิก ตลอดจนให้บริการทางวิชาการแก่นักวิจัยทั้งชาวไทยและต่างชาติ ในการให้ความรู้ และฝึกอบรม รวมทั้งการตรวจสอบและประเมินโครงการวิจัยในคนที่เกี่ยวข้องกับมาตรฐานการวิจัย จึงคู่ควรแก่การได้รับรางวัล รางวัลนักวิจัยดีเด่นแห่งชาติ เป็นรางวัลที่มอบให้นักวิจัยที่มีสัญชาติไทย ซึ่งได้อุทิศตนให้แก่การวิจัยในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง หรือหลายเรื่องในกลุ่มวิชาการหรือสหวิทยาการอย่างต่อเนื่อง มีผลงานวิจัยดีเด่นที่แสดงถึงความคิดริเริ่ม  เป็นผลงานวิจัยที่ทำสะสมกันมาไม่น้อยกว่า 5 ปี และเป็นผู้ที่มีจริยธรรมของนักวิจัยจนเป็นที่ยอมรับและยกย่องในวงวิชาการนั้น ๆ โดยผลงานวิจัยสร้างคุณูปการและเกิดประโยชน์ในเชิงวิชาการ เชิงเศรษฐกิจ เชิงชุมชน สังคม และเชิงนโยบายอย่างต่อเนื่อง สมควรเป็นแบบอย่างแก่นักวิจัยรุ่นหลังได้ นักวิจัยที่ได้รับการประกาศเกียรติคุณเป็นนักวิจัยดีเด่นแห่งชาติ จะได้เหรียญรางวัลนักวิจัยดีเด่นแห่งชาติ พร้อมประกาศนียบัตรเชิดชูเกียรติคุณ และเงินรางวัลในงานวันนักประดิษฐ์ ประจำปี 2564 ซึ่งจะจัดขึ้นระหว่างวันที่ 26 – 30 พฤษภาคม 2564 ณ ศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทค บางนา กรุงเทพมหานคร

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0

ความเห็น 0

ยังไม่มีความเห็น