โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ทั่วไป

BME ม.รังสิต จับมือ กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม พัฒนาเครื่องมือแพทย์สู่การใช้งานจริง

สยามรัฐ

อัพเดต 22 ก.พ. 2564 เวลา 07.30 น. • เผยแพร่ 22 ก.พ. 2564 เวลา 07.30 น. • สยามรัฐออนไลน์
BME ม.รังสิต จับมือ กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม พัฒนาเครื่องมือแพทย์สู่การใช้งานจริง

วิทยาลัยวิศวกรรมชีวการแพทย์ มหาวิทยาลัยรังสิต ร่วมกับ กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม พัฒนาเครื่องมือแพทย์ ในระยะ4 ปี จำนวนกว่า 25 รายการ มุ่งพัฒนาเครื่องมือแพทย์ไปสู่การใช้งานได้จริง ตั้งเป้าประเทศไทยได้มีอุปกรณ์ทางการแพทย์ในราคาที่เหมาะสมต่อไปในอนาคต

รองศาสตราจารย์ นันทชัย ทองแป้น คณบดีวิทยาลัยวิศวกรรมชีวการแพทย์ มหาวิทยาลัยรังสิต กล่าวว่า ตั้งแต่ปี 2558 เป็นต้นมาวิทยาลัยวิศวกรรมชีวการแพทย์ ได้วางยุทธศาสตร์ในการมุ่งเป็นวิทยาลัยแห่งนวัตกรรมและผู้ประกอบการทางด้านวิศวกรรมชีวการแพทย์ โดยได้ร่วมมือภาครัฐและเอกชนทางด้านเครื่องมือแพทย์ ประกอบกับในช่วงระยะเวลาดังกล่าวทางวิทยาลัยฯ ได้รับทุนสนับสนุนการวิจัยจากสถาบันวิจัย ม.รังสิต และคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติและแหล่งทุนอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องมาใช้เพื่อทำการวิจัยและพัฒนาเครื่องต้นแบบมาอย่างต่อเนื่องเป็นระยะหลายปี นอกจากนั้นทางวิทยาลัยฯ ยังได้รับทุนจากกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม เพื่อใช้ในการขับเคลื่อนผลงานวิจัย สู่ผลิตภัณฑ์ต้นแบบที่มีศักยภาพเชิงพาณิชย์ เพื่อผลิตเครื่องมือแพทย์ จนถึงปัจจุบันได้เครื่องต้นแบบทั้งสิ้นจำนวน 25 รายการ โดยมุ่งพัฒนาในระยะต่อไป เพื่อนำไปสู่การใช้ได้จริง และสามารถนำไปสู่ตลาดเชิงพาณิชย์ โดยมีห้องวิจัยและพัฒนา รวมทั้งศูนย์ถ่ายทอดเทคโนโลยีแบบครบวงจรโดยมีผลงานใน 3 แนวทาง ได้แก่

1.Smart Medical Devices โดยมีผลงานที่เป็นที่ประจักษ์ ได้แก่ ระบบ Smart OPD ที่ประกอบด้วยเครื่องวัดสัญญาณชีพและข้อมูลที่จำเป็นทางด้านการวินิจฉัยและติดตามเฝ้าระวังสุขภาพได้แก่เครื่องวัดระดับน้ำตาลในเลือดแบบไม่รุกล้ำ เครื่องวัดโคเลสเตอร์รอล เครื่องวัดความดัน เครื่องวัดเปอร์เซ็นต์ความอิ่มตัวของออกซิเจนในเลือด เครื่องวัดสัญญาณไฟฟ้าหัวใจ เครื่องวัดน้ำหนักและส่วนสูงรวมทั้งระบบการเชื่อมต่อที่ทำให้เป็นระบบรวบรวมข้อมูลมาอยู่ในเครื่องเดียวกัน เมื่อรวมเข้ากันกับเครื่อง Automated CPR ก็จะกลายเป็นSmart ER รวมทั้ง การผลิตเครื่อง Photo Therapyให้กับมูลนิธิเพื่อนำไปใช้งานให้กับโรงพยาบาลที่ขาดแคลน

2.Smart Assistive & Rehabilitation Devices ได้พัฒนาจากผลงานวิจัยต้นแบบสู่ผลิตภัณฑ์ต้นแบบที่มีศักยภาพเชิงพาณิชย์(Technology Rediness Level 7:TRL7) ได้แก่ Smart เครื่องฟื้นฟูแขน เครื่องฝึกการทรงตัว รถเข็นไฟฟ้าแบบอัฉริยะ

3.Smart Inspire Biomaterials for Tissue Engineering ได้พัฒนาจากผลงานวิจัยต้นแบบสู่ผลิตภัณฑ์ต้นแบบที่มีศักยภาพเชิงพาณิชย์(Technology Rediness Level 9:TRL9) ได้แก่ แก้ว RSU Zippy Cup

ทางวิทยาลัยวิศวกรรมชีวการแพทย์ มหาวิทยาลัยรังสิตคาดว่าตั้งแต่ปี 2564 เป็นต้นไปผลงานต่างๆ จะเริ่มเข้าสู่เฟสของการพัฒนาไปเป็นผลิตภัณฑ์ต้นแบบที่มีศักยภาพเชิงพาณิชย์ เพื่อผลิตเครื่องมือแพทย์ พัฒนาไปสู่การใช้ได้จริง และสามารถนำไปสู่ตลาดเชิงพาณิชย์ต่อไปเพื่อให้ประเทศไทยได้มีอุปกรณ์ทางการแพทย์ในราคาที่เหมาะสมต่อไปในอนาคต

ทั้งนี้ วิทยาลัยวิศวกรรมชีวการแพทย์ มหาวิทยาลัยรังสิตมุ่งเป็นวิทยาลัยที่มีรูปแบบการเรียนการสอนในลักษณะของ Industrial Hospitals โดยมุ่งทำความร่วมมือและตั้งศูนย์ธุรกิจกับภาคประกอบการจริงที่มหาวิทยาลัยรังสิต เพื่อให้นักคณาจารย์ของวิทยาลัยจะทำงานบนโจทย์จริงๆ เพื่อสามารถพัฒนานวัตกรรมหรือเทคโนโลยีใหม่ๆ ที่ตอบรับความต้องการในเชิงพาณิชย์ได้อย่างตรงจุดและตอบโจทย์ของประเทศและโลกยุคใหม่” คณบดีวิทยาลัยวิศวกรรมชีวการแพทย์ กล่าวปิดท้าย

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0