โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ทั่วไป

กอ.รมน. ผนึก วช. มุ่งสร้างตำบลต้นแบบ 15 จังหวัด ผ่านปราชญ์เพื่อความมั่นคง–เครือข่ายภาคประชาชน ด้วยงานวิจัยและนวัตกรรม ขยายผลให้เกิดประโยชน์ต่อสังคม เน้นการยกระดับคุณภาพชีวิต

Manager Online

เผยแพร่ 30 มี.ค. 2564 เวลา 05.01 น. • MGR Online

กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร จับมือ สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ ร่วมเดินหน้าสร้างความเข้มแข็งกลุ่มมวลชน การเสริมสร้าง ปราชญ์เพื่อความมั่นคงและเครือข่ายภาคจังหวัด เพื่อการพัฒนาการที่ยั่งยืน ภายใต้โครงการความสร่วมมือระหว่าง กอ.รมน. และ วช. ชุมชนเข้มแข็งด้วยวิจัยและนวัตกรรม เพื่อความมั่นคงและภาคประชาชน โดยมุ่งเน้นการยกระดับคุณภาพชีวิต เสริมสร้างอาชีพและเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต ด้วยงานวิจัยและนวัตกรรม อันสอดคล้องตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

วันนี้ (30 มี.ค.) ที่ ชลพฤกษ์ รีสอร์ท จังหวัดนครนายก พลเอกวรเกียรติ รัตนานนท์ เลขาธิการกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร และดร. วิภารัตน์ ดีอ่อง ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ เป็นประธานเปิดกิจกรรมเสริมสร้างปราชญ์เพื่อความมั่นคงและเครือข่ายภาคจังหวัดเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน พร้อมเยี่ยมชมผลงานผลิตภัณฑ์การเกษตร จากเครือข่ายภาคประชาชนในหลายจังหวัด กิจกรรมนี้จัดขึ้นเพื่อบูรณาการความร่วมมือระหว่างภาคความมั่นคง และภาคการวิจัย ในการเสริมสร้างความเข้มแข็งให้แก่ปราชญ์เพื่อความมั่นคง และเครือข่ายภาคจังหวัด ซึ่งเป็นฐานสำคัญของประเทศในการร่วมขับเคลื่อนการพัฒนาและการแก้ไขปัญหาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน รวมถึงการเสริมสร้างความรู้ด้านความมั่นคงของชาติ การพัฒนาปราชญ์ พัฒนาชุมชนต้นแบบ นำสู่ตำบลมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน ระหว่างวันที่ 29 มีนาคม – 1 เมษายน 2564

สำหรับการดำเนินงาน ศปป.1 กอ.รมน. ได้คัดกรององค์ความรู้ที่พร้อมถ่ายทอดองค์ความรู้เพื่อการพัฒนาในพื้นที่ 61 ชุมชน ใน 21 จังหวัด และ วช. ได้คัดกรององค์ความรู้ที่พร้อมถ่ายทอดขยายผลและสอดคล้องกับบริบทความต้องการของพื้นที่เป้าหมาย จำนวน 11 องค์ความรู้/เทคโนโลยี ซึ่งในระยะที่ 1 ปีงบประมาณ 2562 วช. ได้สนับสนุนงานวิจัยและนวัตกรรมในการเพิ่มศักยภาพชุมชนให้มีความเข้มแข็งตามโจทย์ความต้องการของพื้นที่ชุมชน ซึ่งเป้าหมายของ กอ.รมน. จำนวน 231 ชุมชน ซึ่งชุมชนได้กำหนดความต้องการไว้ 5 เทคโนโลยี

ปีงบประมาณ 2563 เป็นการดำเนินงานระยะที่ 2 ระยะนี้ได้เสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชน จนสามารถพึ่งพาตนเองได้ และตั้งเป้าให้เป็นชุมชนต้นแบบนำวิจัยและนวัตกรรมมาปรับวิถีชีวิตเป็นชุมชนเข้มแข็ง ในปีงบประมาณ 2564 นี้ วช. และ ศปป.1 กอ.รมน. ได้มีเป้าหมายสร้างตำบลมั่นคง มั่งคั่ง ต้นแบบ ใน 15 จังหวัด โดยดำเนินการตามนโยบายบูรณาการขับเคลื่อนการปฏิบัติงานของทั้งสำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ความมั่นคง (สยย.) กอ.รมน. ร่วมด้วย ศปป.1 กอ.รมน. และ ศปป. 4 กอ.รมน ซึ่งได้กำหนดพื้นที่เป้าหมายระดับตำบล ให้สอดคล้องกับการนำงานวิจัยและนวัตกรรม ไปช่วยในการยกระดับศักยภาพความเข้มแข็งของชุมชนและตามความต้องการของประชาชนอย่างแท้จริง ตลอดจนสามารถประเมินผลสัมฤทธิ์ได้

โดยการส่งมอบงานวิจัยและนวัตกรรม ผ่านศูนย์ประสานการปฏิบัติที่ 4 (ศปป.4) ในการขยายผลเทคโนโลยี เรื่อง “เครื่องวัดข้อมูลฝุ่นละอองขนาดเล็กในอากาศด้วยระบบเซ็นเซอร์เชื่อมต่อข้อมูลด้วยระบบสถาปัตยกรรมเน็ตเวิร์คอัจฉริยะ” ในพื้นที่ทำงานของ กอ.รมน. จังหวัด ซึ่งครอบคลุมพื้นที่ทั้ง 4ภาค ในปี 2563 และในปี 2564 มีแผนขยายผลนวัตกรรมเรื่อง “ถังหมักประสิทธิภาพสูงเพื่อการจัดการขยะอินทรีย์ในระดับชุมชน” โดยขยายผลเทคโนโลยีในพื้นที่ดูแลของ ศปป.4 กอ.รมน. ให้ครอบคลุมทั้ง 4 ภาค ใน 22 พื้นที่ 14 จังหวัด และศูนย์ประสานการปฏิบัติที่ 5 (ศปป.5) กอ.รมน. ในการขยายผลการใช้ประโยชน์ผลงานวิจัยและนวัตกรรม เรื่อง เสื้อเกราะกันกระสุนน้ำหนักเบาที่ผ่านมาตรฐานสากลระดับ NIJ III (NIJ 3) ในพื้นที่การดูแลของ กอ.รมน. ภาค 4 ส่วนหน้า (3 จังหวัดชายแดนภาคใต้) และกองทัพภาคที่ 4

ด้านพันเอกกิตติ ภาคมณี ผู้อำนวยการส่วนงานเสริมสร้างความมั่นคงสถาบันหลัก กอ.รมน. กล่าวว่า ในนามของผู้เข้าร่วมการอบรมการเสริมสร้างศาสตร์และความมั่นคงและเครือข่ายภาคจังหวัดเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนขอขอบพระคุณท่านเป็นอย่างสูงที่กรุณาให้เกียรติมาเป็นประธานในเวทีเปิดการอบรมการเสริมสร้างศาสตร์เพื่อความมั่นคงและเครือข่ายภาคจังหวัดเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนในครั้งนี้สำหรับการจัดงานดังกล่าวมีวัตถุประสงค์ดังนี้

ประการที่ 1 เพื่อเป็นการบูรณาการร่วมกันในการขับเคลื่อนกิจกรรมภายใต้ความร่วมมือระหว่างกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราอาณาจักรและสำนักงานการวิจัยแห่งชาติในการเสริมสร้างความเข้มแข็งให้เกิดความมั่นคงและเครือข่ายภาคจังหวัดซึ่งเป็นฐานสำคัญของประเทศ ในการร่วมกันขับเคลื่อนพัฒนาแก้ไขปัญหาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน

ประการที่ 2 เพื่อเป็นการร่วมกันจัดพัฒนาศักยภาพของทุกคนด้วยผลงานวิจัยและนวัตกรรม

ประการที่ 3 เพื่อเป็นการขยายผลงานวิจัยและนวัตกรรมไปสู่การใช้ประโยชน์ไม่มีการปฏิบัติและการถ่ายทอดสู่ของเครือข่ายเพื่อความมั่นคงเพื่อพัฒนาพื้นที่ชุมชนเป้าหมายของปชนให้เป็น ให้เป็นชุมชนที่มีความเข้มแข็งมั่นคงและยั่งยืน

ประการที่ 4 เพื่อเป็นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์ของทุกภาคส่วนโดยเฉพาะปราชญ์เพื่อความมั่นคงผู้นำชุมชนและส่วนราชการที่เกี่ยวข้องเพื่อนำแนวคิดไปพัฒนาให้เป็นชุมชนต้นแบบในทุกๆพื้นที่ เพื่อพึ่งพาตนเองได้รวมทั้งเพื่อเป็นการสร้างภูมิคุ้มกันในการเผชิญปัญหาต่างๆที่มีผลกระทบต่อความมั่นคงของชาติได้อย่างยั่งยืนทั้งนี้ผู้เข้าร่วมการอบรมการเสริมสร้างศาสตร์เพื่อความมั่นคงและเครือข่ายภาคจังหวัดเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนมีจำนวนทั้งสิ้น 332 นาย

ประกอบด้วย 1.ปราบเพื่อความมั่นคงหรือผู้นำชุมชนจาก 77 จังหวัด จังหวัดละ 3 คน เจ้าหน้าที่จังหวัด จังหวัดละ 3 คน เจ้าหน้าที่ ภาคละ 1 คน รวม 300 กว่าคน 2.ผู้แทนหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจำนวน 20 คนได้แก่สำนักการวิจัยแห่งชาติและผู้ประสานบชน.หน่วยงานละ 10 คน การจัดงานเสริมสร้างศาสตร์เพื่อความมั่นคงและเครือข่ายภาคจังหวัดเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนมีการดำเนินงานทั้งสิ้น 4 วันประกอบด้วย 2 กิจกรรม คือกิจกรรมที่ 1 เป็นการสัมมนาเชิงปฏิบัติการของเครือข่ายศาสตร์เพื่อความมั่นคงโดยจัดมีการบรรยายพิเศษจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้แก่สำนักงานการวิจัยแห่งชาติองค์การพัฒนาชุมชนสภาเกษตรกรแห่งชาติ สํานักงานเลขาธิการสภาการศึกษาสำนักงานเทคโนโลยีภูมิสารสนเทศจากที่มีการเสวนาถอดบทเรียนผลงานชุมชนที่ได้รับงานวิจัยและนวัตกรรมของสำนักงานการวิจัยแห่งชาติและเสวนาเกี่ยวกับเรื่องขององค์ความรู้ระบบการในการทำเกษตรทฤษฎีใหม่ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงรวมทั้งจัดกำลังทางสมองเพื่อความมั่นคงแต่ละจังหวัดภายในภาคโดยให้มีการจัดทำแผนงานโครงการเพื่อนำไปพัฒนาพื้นที่ให้สอดคล้องกับบริบทและพรุ่งนี้สังคมของแต่ละพื้นที่โดยมีวิทยากรให้คำปรึกษาและคำแนะนำกิจกรรมที่ 2 จัดให้มีการจัดนิทรรศการของชุมชนที่ได้รับการพัฒนาพื้นที่โดยใช้งานวิจัยและนวัตกรรมของสำนักงานการวิจัยแห่งชาติที่สำคัญในการจัดกิจกรรมครั้งนี้เป็นการวัดภาพปัญหาความเดือดร้อนและความต้องการของประชาชนโดยตรงรวมทั้งมีการสร้างเครือข่ายศาสตร์เพื่อความมั่นคงและผู้นำชุมชนโดยมีการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้และประสบการณ์ของผู้เข้าร่วมกิจกรรมอันจะนำไปสู่การกำหนดแนวทางในการปฏิบัติงานร่วมกันอย่างเป็นรูปประธรรมของทุกภาคส่วนในการขับเคลื่อนแผนงานโครงงานของ บชน. กับสำนักงานการวิจัยแห่งชาติการนำไปสู่การพัฒนาพื้นที่ในทุกระดับของประเทศต่อไป

ด้านนายวีรวัฒน์ บญสม ผู้อำนวยการกองส่งเสริมและสนับสนุนการวิจัยและนวัตกรรม (วช.) กล่าวว่า ภายใต้กระทรวงการอุดมศึกษาวิทยาศาสตร์วิจัยและนวัตกรรม ขอขอบพระคุณท่านเลขาธิการกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักรและผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติที่ได้กรุณาให้เกียรติมาเป็นประธานในการเปิดงานการเสริมสร้างศาสตร์เพื่อความมั่นคงและเครือข่ายภาคจังหวัดเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนในวันนี้การจัดกิจกรรมครั้งนี้ถือเป็นการขับเคลื่อนภายใต้ความร่วมมือระหว่าง 3 หน่วยงาน ที่ได้มีการตกลงและบันทึกร่วมกันในเมื่อวันที่ 28 สิงหาคม พ.ศ.2562 ในการใช้ประโยชน์ความรู้จากการวิจัยและนวัตกรรมเพื่อพัฒนาเชิงพื้นที่ด้วยวิจัยและนวัตกรรมผ่านกลไกการเดินทางของศูนย์ประสานงานอื่นๆ วช.ได้ร่วมสนับสนุนกิจกรรมในการเสริมสร้างความเข้มแข็งโดยการยกระดับศักยภาพความเข้มแข็งของชุมชนเพื่อการวิจัยและนวัตกรรมซึ่งวชได้ให้การสนับสนุนงบประมาณและองค์ความรู้กับผลงานวิจัยและนวัตกรรมเพื่อเพิ่มศักยภาพของชุมชนให้เข้มแข็งและพื้นที่ชุมชนเป้าหมายจำนวน 231 ชุมชน อีกครั้งในปี 2563

วช. และ กอ.รมน.ได้ร่วมจัดกิจกรรมเสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชน สามารถพึ่งพาตนเองได้อย่างยั่งยืนโดยมุ่งหมายให้เป็นชุมชนต้นแบบการวิจัยและนวัตกรรมเป็นชุมชนเข้มแข็งด้วยงานวิจัยและนวัตกรรมโดย 3 หน่วยงานได้คัดเลือกพื้นที่และการต้องการองค์ความรู้เพื่อการพัฒนาในพื้นที่ 61 ชุมชนนาย 21 จังหวัด ได้คัดกรององค์ความรู้ที่พร้อมถ่ายทอดขยายผลและสอดคล้องกับบริบทความต้องการของพื้นที่จำนวน 11 องค์ความรู้สำหรับการจัดกิจกรรมการเสริมสร้างศาสตร์และเครือข่ายภาคจังหวัดเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนในครั้งนี้ วช.และ สปก1. กอ.รมน.หวังที่จะให้เกิดการเข้าถึงองค์ความรู้การวิจัยและนวัตกรรมแนวทางในการพัฒนาเพื่อเป้าหมายพัฒนาที่ยั่งยืนต่อไปบัดนี้ได้เวลาอันสมควรแล้วกระผมขออนุญาตเรียนเชิญผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติกล่าวเปิดงาน

ด้านดร. วิภารัตน์ ดีอ่อง ผู้อำนวยการสำนักงานการวจัยแห่งาติ กล่าวว่า ในนามของสำนักงานการวิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ หรือ วช.รู้สึกยินดีที่ไหนวันนี้ได้มาร่วมเปิดงานการเสริมสร้างศาสตร์เพื่อความมั่นคงและเครือข่ายภาคจังหวัด ใต้ความร่วมมือของ 3 หน่วยงานการจัดกิจกรรมครั้งนี้ถือเป็นความมุ่งมั่นในการที่จะบูรณาการและขับเคลื่อนการดำเนินงานร่วมกันระหว่างหน่วยงานทั้ง 2 หน่วยซึ่งเข้าสู่การดำเนินงานในปีที่ 3 ซึ่งในปี 2564 จะเป็นการดำเนินงานที่มีความต่อเนื่องจากกิจกรรมที่จัดขึ้นตั้งแต่ปีแรกที่ทำให้เกิดความร่วมมือทั้ง 2 หน่วยงานซึ่งเป็นกิจกรรมที่จะเน้นในเรื่องของการจัดองค์ความรู้การวิจัยและเทคโนโลยีไปสู่การพัฒนาในพื้นที่ชุมชนที่เข้มแข็ง ซึ่งการดำเนินงานในครั้งนี้มีเป้าหมายร่วมกันในการสร้างให้เกิดพื้นที่ในเรื่องของความมั่นคงและคุณภาพที่ยั่งยืนเพื่อเป็นต้นแบบในส่วนของ 15 พื้นที่หรือ 15 จังหวัดตามเป้าหมายโดยโครงการการทำงานร่วมกันทั้งนี้ความร่วมมือระหว่างวชและกอรมนมีความมุ่งหมายที่จะส่งเสริมสนับสนุนเพื่อให้เกิดการใช้ประโยชน์จากการวิจัยและนวัตกรรมในการส่งเสริมความมั่นคงของของรัฐความมั่นคงทางสังคมความมั่นคงทางทรัพยากรรวมถึงความมั่นคงเฉพาะพื้นที่ตลอดจนจะเป็นการนำการวิจัยไปใช้ให้เกิดประโยชน์ในการถ่ายทอดสู่กลุ่มศูนย์การเรียนรู้ซึ่งมีเครือข่ายเพื่อความมั่นคงพื้นที่ชุมชนเป้าหมายของกอ.รมน.ที่จะมีประชาชนในการร่วมกันพัฒนามุ่งเน้นที่จะสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นให้กับชุมชนโดยในการทำงานและระยะแรกที่ผ่านมาการขับเคลื่อนภายใต้ดังกล่าว

website : mgronline.com
facebook : MGRonlineLive
twitter : @MGROnlineLive
instagram : mgronline
line : MGROnline
youtube : MGR Online VDO

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0