โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

หุ้น การลงทุน

โควิด-19 (Covid-19) ต่อเศรษฐกิจไทย มีโอกาสทางเศรษฐกิจบ้างไหม?

PostToday

อัพเดต 11 พ.ค. 2564 เวลา 04.31 น. • เผยแพร่ 11 พ.ค. 2564 เวลา 04.30 น. • webmaster@posttoday.com
โควิด-19 (Covid-19) ต่อเศรษฐกิจไทย มีโอกาสทางเศรษฐกิจบ้างไหม?
โควิด-19 (Covid-19) ต่อเศรษฐกิจไทย มีโอกาสทางเศรษฐกิจบ้างไหม?
โควิด-19 (Covid-19) ต่อเศรษฐกิจไทย มีโอกาสทางเศรษฐกิจบ้างไหม?
โควิด-19 (Covid-19) ต่อเศรษฐกิจไทย มีโอกาสทางเศรษฐกิจบ้างไหม?
โควิด-19 (Covid-19) ต่อเศรษฐกิจไทย มีโอกาสทางเศรษฐกิจบ้างไหม?
โควิด-19 (Covid-19) ต่อเศรษฐกิจไทย มีโอกาสทางเศรษฐกิจบ้างไหม?
โควิด-19 (Covid-19) ต่อเศรษฐกิจไทย มีโอกาสทางเศรษฐกิจบ้างไหม?
โควิด-19 (Covid-19) ต่อเศรษฐกิจไทย มีโอกาสทางเศรษฐกิจบ้างไหม?
โควิด-19 (Covid-19) ต่อเศรษฐกิจไทย มีโอกาสทางเศรษฐกิจบ้างไหม?
โควิด-19 (Covid-19) ต่อเศรษฐกิจไทย มีโอกาสทางเศรษฐกิจบ้างไหม?
โควิด-19 (Covid-19) ต่อเศรษฐกิจไทย มีโอกาสทางเศรษฐกิจบ้างไหม?
โควิด-19 (Covid-19) ต่อเศรษฐกิจไทย มีโอกาสทางเศรษฐกิจบ้างไหม?
โควิด-19 (Covid-19) ต่อเศรษฐกิจไทย มีโอกาสทางเศรษฐกิจบ้างไหม?
โควิด-19 (Covid-19) ต่อเศรษฐกิจไทย มีโอกาสทางเศรษฐกิจบ้างไหม?
โควิด-19 (Covid-19) ต่อเศรษฐกิจไทย มีโอกาสทางเศรษฐกิจบ้างไหม?
โควิด-19 (Covid-19) ต่อเศรษฐกิจไทย มีโอกาสทางเศรษฐกิจบ้างไหม?

คอลัมน์ ทันเศรษฐกิจ โดย…รองศาสตราจารย์ ดร.อภิรดา ชิณประทีป ศูนย์ศึกษาพัฒนาการเศรษฐกิจคณะพัฒนาการเศรษฐกิจสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (NIDA)www.econ.nida.ac.th; apirada.c@nida.ac.th; apiradach@gmail.com

จากที่ผู้เขียนได้มีโอกาสลงโพสต์ทูเดย์ฉบับวันที่ 21 กรกฎาคม 2563 เรื่อง การเปิดโรงเรียนในสถานการณ์โควิด-19 ในส่วนของประเทศไทย และวันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2564 เรื่อง การประมาณการผลกระทบการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรน่าสายพันธุ์ใหม่หรือ โควิด-19 (Covid-19) ต่อเศรษฐกิจไทย ทั้งภาพรวมและรายสาขา และการพลิกวิกฤติเป็นโอกาสทางเศรษฐกิจ ในวาระฉบับนี้ เราจะมากล่าวเพิ่มเติมถึงโควิด-19 (Covid-19) ต่อเศรษฐกิจไทย มีโอกาสทางเศรษฐกิจบ้างไหม? และระลอก 3 อาจจะแลกเปลี่ยนความคิดเห็นแนวคิดเพื่อการจัดการเพิ่มเติมอย่างไร?

ก่อนอื่นผู้เขียนขอขอบคุณผู้ใหญ่ทุกท่านอีกครั้งในการให้มีโอกาสเข้าร่วมเป็นคณะทำงานวิชาการจัดทำข้อเสนอเชิงวิชาการต่อการป้องกัน แก้ปัญหา และรองรับผลกระทบจากโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) เพื่อปลดล็อคเศรษฐกิจ และการประสานงานด้านการวิจัยและวิชาการ กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม เพื่อสนับสนุนการดำเนินงานควบคุมการติดเชื้อไวรัสโควิด-19 ของกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) และร่วมกับกรมควบคุมโรค และเป็นหนึ่งในคณะทำงานฯ (ภายใต้ สำนักงานศูนย์บริหารสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (ศบค.) ตั้งแต่ปี 2563 ที่ผ่านมาโดยเป็นงานจิตอาสาไม่ได้รับค่าตอบแทนแต่เป็นการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ที่มีคุณค่าทางจิตใจมากและรู้สึกว่าได้มีประโยชน์ในส่วนเล็กๆ ของหลายๆ เหตุการณ์สำคัญ ในการระบาดระลอก 1 และ 2 ที่ผ่านมา

โดยระลอกที่ 3 นี้ยังไม่ได้มีโอกาสช่วยเต็มตัวจึงขอนำเสนอร่างความเห็นส่วนตัวเท่านั้นเผื่อว่าอาจจะพอเป็นประโยชน์ไม่มากก็น้อยแด่ท่านผู้อ่านที่สนใจทุกท่าน ดังนี้

ในส่วนของการระบาดระลอกเมษายน 2564 นี้นั้น มีความแตกต่างจาก 2 ระลอก(ระลอกสนามมวย และสมุทรสาคร) ประการหนึ่งจุดอ่อนนอกจากจะเกิดจากเชื้อกลายพันธุ์สายพันธุ์อังกฤษที่กระจายเร็วขึ้นมาก ไม่มีอาการระยะแรก รู้ตัวช้า แต่ยังพอมีข้อดีคือวัคซีนยังคงสามารถป้องกันเชื้อสายพันธุ์นี้ได้อยู่

การฉีดวัคซีนจึงจำเป็นและสำคัญ โดยเฉพาะกลุ่มเสี่ยงที่ยังอาจแพร่เชื้อได้ต่อด้วย ซึ่งเชื่อว่าเราจะมีการวางแผนการกระจายให้เหมาะสมด้วยซึ่งส่วนนี้ผู้เขียนเชื่อว่าทางรัฐบาลมีคณะกรรมการมือฉมังชั้นปรมาจารย์ช่วยในการคิดอยู่ ขอเอาใจช่วยทุกท่าน

จึงขออนุญาตแลกเปลี่ยนความเห็นเล็กๆ นำเสนอแนวคิดในภาพกว้างไว้เท่านั้น ในการจัดการตามความเห็นส่วนตัวของผู้เขียน เราอาจต้องแบ่งเป็นระยะสั้น(ด่วน) คือ การควบคุมกลุ่มผู้ติดเชื้อใหม่ และการสัมผัสต่อจากกลุ่มเดิม แยกกัก รักษา ในขณะเดียวกัน มีการเร่งระดมฉีดวัคซีนคู่ขนานไปด้วย (อาจจะเริ่มที่ 1 เข็มเดียวก่อนให้ครอบคลุมตามจำนวนคนที่ตั้งเป้า โดยเฉพาะระยะที่วัคซีนยังมีอยู่จำกัด เนื่องจากหลายข้อมูลทางวิชาการก็น่าจะมีผลดีแล้วระดับหนึ่ง เนื่องจากมีระยะเวลากว่าจะฉีดเข็มสอง หรือเมื่อหมดระยะ) ในรายละเอียดเกินจากความเชี่ยวชาญผู้เขียน คงจะต้องรอฟังจากผู้เชียวชาญและคุณหมอ หรือภาครัฐ ที่คงจะออกมาเรื่อย ๆ เป็นระยะ ๆ

และส่วนระยะกลาง คือ การกระจายวัคซีน จัดสรร ทั่วถึง ในขณะที่ยังควบคุมควบคู่ไประยะหนึ่งก่อนจะค่อยๆ คลายล็อคทางเศรษฐกิจอย่างราบรื่นอีกครั้ง

ทั้งนี้ยังต้องมีการลงรายละเอียดแล้วแต่สถานการณ์ด้วยเนื่องจากแต่ละระลอกมีความแตกต่างกัน ขอเอาใจช่วยทุกๆ ท่านโดยเชื่อว่าไทยเราจะผ่านไปได้ในที่สุด

ในส่วนการเยียวยา และประคับประคองระบบเศรษฐกิจตามที่ผู้เขียนเคยนำเสนอแนวคิดไปบ้างแล้วนั้น ในระลอกเมษายนนี้ผู้เขียนยังเชื่อว่า มีความจำเป็นอยู่ โดยน่าจะมีการจัดทำรูปแบบที่เหมาะสมกับสถานการณ์ที่มีเฉพาะ ณ ขณะนี้ โดยได้ข่าวว่า ทางรัฐบาลกำลังพิจารณาเรื่องการช่วยเหลือทางเศรษฐกิจอยู่ ซึ่งเป็นเรื่องที่ดีแล้ว เอาใจช่วยทุกท่านให้ได้รูปแบบที่ทันต่อสถานการณ์และมีความเหมาะสมเฉพาะของระลอกนี้

ผู้เขียนมีความเชื่อว่า ในระลอกเมษายน 64 นี้ เมื่อผนวกกับประชาชนทุกคนร่วมมือร่วมใจ และถ้าไม่มีเหตุการณ์สำคัญระบาดซ้อนเพิ่มเติม ส่วนตัวอยากมองโลกในแง่ดีไว้ก่อนว่ายอดติดเชื้อน่าจะได้ชะลอตัวภายในสัปดาห์ที่ 2-3 ของเดือนพฤษภานี้ (ไม่เกินพฤษภาคม) แล้ว ที่ยังอาจน่าเป็นห่วงคือ จำนวนผู้ป่วยอาการหนัก โดยหวังว่าจะค่อยๆ ดีขึ้นตามลำดับ รวมถึงการระมัดระวังของครอบครัวกรณีผู้ติดเชื้อเป็นผู้สูงอายุ หรือมีโรคประจำตัว (ณ 4 พฤษภาคมที่เขียนต้นฉบับนี้)

การขยับผ่อนปรนคลายภายใน 1 สัปดาห์ อาจจะให้เป็นระยะที่อนุญาตคนเข้าร้านต่างๆ ได้บ้าง เปิดได้บ้าง โดยให้เน้นการมีมาตรการเว้นระยะห่าง ใส่หน้ากาก ล้างมือฯ

ที่มา: google และ JHU CSSE COVID-19 Data

รูปที่ 1 จำนวนผู้ติดเชื้อรายใหม่ของประเทศไทย

รูปที่ 2 ความเห็นส่วนตัวของผู้เขียนเพื่ออาจได้พิจารณาต่อไปเท่านั้น (ตัวเลขทุกอย่างเป็นเพียงการสมมติเท่านั้น ไม่ใช่ตัวเลขจริง)

ความเห็นส่วนตัวของผู้เขียนเพื่ออาจได้พิจารณาต่อไปเท่านั้น การฉีดวัคซีนและการรักษาสามารถทำคู่ขนานไปได้ ในกรณีการฉีดวัคซีนอาจจะเน้นกลุ่มที่ยังไม่ติดเชื้อแต่มีโอกาสแพร่กระจายไปยังผู้อื่นในสังคมสูงด้วย เช่นในกลุ่มที่ใกล้ชิดกับผู้ติดเชื้อ และถ้าจำนวนวัคซีนยังจำกัด ให้เน้น 1 เข็มก่อนในระยะที่ 2 นี้ (ระยะแรกได้ฉีดคุณหมอและพยาบาล กับกลุ่มเสี่ยงไปบ้างแล้ว) เพื่อครอบคลุมจำนวนประชากร โดยเพิ่มเน้นกลุ่มแข็งแรงที่มีโอกาสสัมผัสคนมาก เพิ่มขึ้นด้วยอีกกลุ่มหลังจากจบระยะแรกแล้ว ก่อนที่เราจะสามารถมีวัคซีนพร้อมใช้อย่างเพียงพอ (ขออนุญาตแลกเปลี่ยนความเห็นเล็กๆ เท่านั้นและติดตามรอฟังทางคุณหมอทุกท่านอีกครั้งหนึ่ง)

ทั้งนี้ในส่วนของแง่มุมเศรษฐกิจ ขออนุญาตเล่าย่อๆ ถึงสาระสำคัญส่วนหนึ่งของงานของผู้เขียนและทีมวิจัยในเรื่อง “การประมาณการผลกระทบการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรน่าสายพันธุ์ใหม่หรือ โควิด-19 (Covid-19) ต่อเศรษฐกิจไทย ทั้งภาพรวมและรายสาขา และการพลิกวิกฤติเป็นโอกาสทางเศรษฐกิจ” โดยได้รับการสนับสนุนจากสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ ซึ่งปัจจุบันได้อยู่ระหว่างการปิดเล่มรายงานฉบับสมบูรณ์ และสาระสำคัญพบว่ายังมีทั้งบวกและลบ และอยากให้กำลังใจผู้อ่านทุกท่านว่า ในวิกฤติเราอาจสามารถพลิกวิกฤติเป็นโอกาสทางเศรษฐกิจได้ในบางส่วน ขอให้ข้อมูลเพื่อเป็นกำลังใจผู้อ่านทุกท่าน

ยิ่งไปกว่านี้ กลุ่มด้านออนไลน์ยังเติบโตหลายเท่าตัวตามที่ผู้เขียนเคยวิเคราะห์ไว้เมื่อต้นปี 2563 และปัจจุบันกลุ่มนี้เชื่อว่าก็ยังคงมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นได้อีกอย่างสวยงามในระยะนี้

ตารางรูป 3 ที่มา: อภิรดา ชิณประทีปและคณะ รายงานการประมาณการผลกระทบการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรน่าสายพันธุ์ใหม่หรือ โควิด-19 (Covid-19) ต่อเศรษฐกิจไทย

รูปที่ 4 เรียงลำดับผลกระทบการแพร่ระบาดของ โควิด-19 ต่อเศรษฐกิจไทย

ที่มา: อภิรดา ชิณประทีปและคณะ รายงานการประมาณการผลกระทบการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรน่าสายพันธุ์ใหม่หรือ โควิด-19 (Covid-19) ต่อเศรษฐกิจไทย

รูปที่ 5 ผลกระทบการแพร่ระบาดของ โควิด-19 ต่อการจัดตั้งแต่ละสาขาเศรษฐกิจไทยมีทั้งบวกและลบ

ที่มา: อภิรดา ชิณประทีปและคณะ รายงานการประมาณการผลกระทบการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรน่าสายพันธุ์ใหม่หรือ โควิด-19 (Covid-19) ต่อเศรษฐกิจไทย

ความเห็นข้อเสนอแนะเบื้องต้นการปรับตัวทางเศรษฐกิจในระยะโควิดโดยสรุปย่อแล้ว ผลกระทบการแพร่ระบาดของ โควิด-19 ต่อเศรษฐกิจไทย พบว่ายังมีทั้งบวกและลบ และเราสามารถวิกฤติเป็นโอกาสทางเศรษฐกิจ ในขณะที่ภาครัฐเข้ามาประคับประคองควบคู่ไปและเมื่อเราพยายามสามารถปรับเปลี่ยน(อย่างน้อยชั่วคราว) ยกตัวอย่างเช่น

- ในกลุ่มที่ได้รับผลกระทบลบ และมาทางแนวโน้มกลุ่มที่ได้รับผลกระทบบวก

- โดยสามารถใช้ลักษณะของการผลิตที่เป็นลักษณะกระชับเพรียวบาง(lean production)

- และอาจเสริมด้วยช่องทางออนไลน์มากขึ้น

- และในขณะเดียวกันในส่วนของทรัพยากรบุคคลก็มีการ reskill หรือ upskill เป็นต้น - เสริมด้วยมาตรการช่วยเหลือจากทางภาครัฐที่เหมาะสม และทันเวลา

ความเห็นการประมาณการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ(เฉพาะจากการระบาดของโควิด-19 ระลอกแรกเมื่อต้นปี 2563 เท่านั้น)

รูปที่ 6 ผลกระทบการแพร่ระบาดของ โควิด-19 ต่อเศรษฐกิจไทย การประมาณการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ(เฉพาะจากการระบาดของโควิด-19 ระลอกแรกเท่านั้น) ที่มา: อภิรดา ชิณประทีปและคณะ รายงานการประมาณการผลกระทบการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรน่าสายพันธุ์ใหม่หรือ โควิด-19 (Covid-19) ต่อเศรษฐกิจไทย สำหรับลงโพสต์ทูเดย์ฉบับ 11 พ.ค. 2564รูปที่ 7 ผลกระทบการแพร่ระบาดของ โควิด-19 ต่อเศรษฐกิจไทย ความสมดุลทั้งด้านสุขภาพและเศรษฐกิจล้วนมีความสำคัญ เป้าหมายที่สำคัญคือการจัดการทั้ง 2 ด้านให้ได้อย่างสมดุล

ผู้เขียนขอสรุป แนวความคิดของการมีมาตรการต่างๆ ตามหลักการพิจารณาถึงความสมดุลทั้ง 2 ด้านทั้งด้านสุขภาพและเศรษฐกิจ ทั้งสองด้านล้วนมีความสำคัญสูงมากที่ไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ากันโดยทั้ง 2 ด้านต่างมีประโยชน์ ที่สำคัญคือการจัดการให้ได้อย่างสมดุล ขณะที่ควบคุมการระบาดได้และทยอยเปิดทางเศรษฐกิจควบคู่ไปด้วยเมื่อมีความเป็นไปได้ เพื่อประคับประคองให้เศรษฐกิจสามารถขับเคลื่อนไปได้

ในระหว่างนี้ ระหว่างการหยุดกิจกรรม กลุ่มเปราะบางและกลุ่มที่ไม่สามารถ work from home ได้ เป็นกลุ่มที่อาจจะสนใจช่วยเหลือเป็นกลุ่มแรกๆ ประกอบกับกลุ่มชุมชนที่ต้องกักตัว ที่อาหารอาจจะจำเป็นด้วย (และหาวิธีช่วยการเสริมสร้างกำลังใจระหว่างนี้ได้ด้วยก็จะดีมากๆ)

เมื่อทุกอย่างเริ่มดีขึ้นบ้าง ควบคู่กับการดำเนินชีวิตประจำวันและกิจกรรมทางเศรษฐกิจไปด้วยอีกระยะหนึ่งก่อนที่สถานการณ์โควิด-19 ทั่วโลกสงบลงได้อย่าง100% เรายังคงใช้หน้ากาก เว้นระยะห่าง ล้างมือ และ บันทึกหรือจดจำพร้อมกับระมัดระวังในการเดินทางไปยังที่ต่างๆ สุดท้ายนี้โดยหวังว่าบทความนี้จะส่งผ่านแง่คิดบางประการในโอกาสนี้ และทุกท่านผู้อ่านและครอบครัวปลอดภัย มีกำลังใจต่อสู้ผ่านพ้นอุปสรรค และยังคงความสมบูรณ์ทั้งร่างกาย จิตใจ และด้านเศรษฐกิจตลอดปีนี้ เชื่อว่าเราทุกท่านจะผ่านไปได้ในที่สุดค่ะ

(หมายเหตุ: เป็นความเห็นส่วนตัวเท่านั้น ไม่จำเป็นต้องตรงกับหน่วยงานที่กล่าวถึงในบทความ หากมีข้อเสนอแนะสามารถแนะนำได้ที่ email: apiradach@gmail.com ขอบคุณยิ่ง)

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0