โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

สังคม

หมอประเมินเส้นทาง "โควิดสายพันธุ์อังกฤษ B.1.1.7" จากกัมพูชาสู่ไทย

PostToday

อัพเดต 09 เม.ย. 2564 เวลา 05.02 น. • เผยแพร่ 09 เม.ย. 2564 เวลา 04.57 น. • webmaster@posttoday.com
หมอประเมินเส้นทาง “โควิดสายพันธุ์อังกฤษ B.1.1.7” จากกัมพูชาสู่ไทย
หมอประเมินเส้นทาง “โควิดสายพันธุ์อังกฤษ B.1.1.7” จากกัมพูชาสู่ไทย
หมอประเมินเส้นทาง “โควิดสายพันธุ์อังกฤษ B.1.1.7” จากกัมพูชาสู่ไทย
หมอประเมินเส้นทาง “โควิดสายพันธุ์อังกฤษ B.1.1.7” จากกัมพูชาสู่ไทย

ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า โควิด 19 เหตุผลที่บอกว่าการระบาดที่ทองหล่อ น่าจะมาจากเขมร

การระบาดที่ทองหล่อ และระบาดอย่างมากในประเทศไทยขณะนี้ โดยเฉพาะมาจากสถานบันเทิง ที่เป็นแหล่งต้นตอของการแพร่กระจายอย่างมาก สายพันธุ์ไวรัสเป็นสายพันธุ์อังกฤษ B.1.1.7

แต่เดิมการระบาดที่สมุทรสาครและแพร่กระจายไปทั่วประเทศตั้งแต่เดือนธันวาคม เป็นสายพันธุ์ในกลุ่ม GH ซึ่งเป็นสายพันธุ์เดียวกับการพบในผู้ที่เดินทางมาจากประเทศพม่า

สายพันธุ์อังกฤษ ได้เริ่มมีการระบาดอย่างมากในประเทศเขมร โดยเริ่มตั้งแต่วันที่ 20 กุมภาพันธ์ จนกระทั่งปัจจุบันการระบาดก็ยังไม่หยุด มีผู้ป่วยในการระบาดรอบนี้ร่วม 3,000 คนและมีการเสียชีวิตมากกว่า 20 คน แสดงในรูปกราฟการระบาด

จากข้อมูลองค์การอนามัยโลก และมีการถอดรหัสพันธุกรรมของผู้ป่วยในเขมรที่บันทึกไว้เป็นหลักฐานในการระบาดโรคนี้ จะเห็นว่าเป็นสายพันธุ์ B.1.1.7 และเขียนไว้อย่างชัดเจนในข้อมูลขององค์การอนามัยโลก

จากการถอดรหัสพันธุกรรมของสายพันธุ์ทองหล่อ โดยศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก จุฬา ได้รับทุนสนับสนุนจากกระทรวงอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม และสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ รวมทั้ง สวทช. แสดงให้เห็นว่าพันธุกรรมของไวรัสสายพันธุ์ทองหล่อ อยู่ในกลุ่มเดียวกับสายพันธุ์ที่ระบาดในเขมร มีความเหมือนกัน และเปรียบเทียบกับสายพันธุ์อังกฤษที่ศูนย์ไวรัส ได้ถอดรหัสพันธุกรรม โควิด 19 จากผู้เดินทางมาจากต่างประเทศโดยเฉพาะประเทศอังกฤษและยุโรป อเมริกา ความเหมือนของสายพันธุ์จะเหมือนกับสายพันธุ์ที่แยกได้จากเขมร มากกว่า

หมอยง ระบุอีกว่า การระบาดในเขมรเกิดขึ้นก่อนในประเทศไทย โดยเกิดตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ และระบาดอย่างต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน ประกอบกับหลักฐานทางวิทยาศาสตร์โดยการถอดรหัสพันธุกรรม มีความเหมือนกัน

การระบาดในประเทศไทยเกิดขึ้นหลังจากการระบาดในเขมรมานานกว่า 6 สัปดาห์ เมื่อเรียบเรียงตามระยะเวลา ความเป็นไปได้จึงน่าจะเป็นจากเขมรมาประเทศไทย มากกว่าประเทศไทยไปเขมร

ข้อมูลทั้งหมดจึงเป็นข้อมูลที่สนับสนุน โดยเฉพาะทางด้านสายพันธุ์ พันธุศาสตร์ ว่าการระบาดครั้งนี้ น่าจะมาจากประเทศกัมพูชา ส่วนจะมาด้วยวิธีใด ก็คงจะต้องมีการหากันต่อไป

ผู้เชี่ยวชาญด้านไวรัสวิทยาคลินิก ทิ้งท้ายว่า อยากให้เด็กไทย สนใจเรียนทางด้านวิทยาศาสตร์ ใช้เหตุผลทางวิทยาศาสตร์ มาเพื่อใช้ตอบคำถามที่สงสัย

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0

ความเห็น 0

ยังไม่มีความเห็น