โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ทั่วไป

วัยทำงานมีหลักประกันจากเบี้ยยังชีพเพียง 38.82%

กรุงเทพธุรกิจ

อัพเดต 07 ต.ค. 2563 เวลา 13.15 น. • เผยแพร่ 07 ต.ค. 2563 เวลา 13.09 น.

มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทยสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ(วช.) และคณะเศรษฐศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยจัดเวทีเสวนาวิชาการในหัวข้อ“ปฏิรูประบบบำนาญไทยเพื่อสังคมสูงวัยในอนาคต”

ศ.ดร.วรเวศม์สุวรรณระดาคณะเศรษฐศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยกล่าวถึงผลการศึกษาทิศทางและนโยบายปฏิรูประบบบำนาญของประเทศไทศว่าไทยมีระบบบำเหน็จบำนาญหลากหลายมีหลักปรัชญาแนวคิดและแหล่งที่มาของเงินที่แตกต่างกันครอบคลุมประชากรกลุ่มเป้าหมายต่างกันไปมีทั้งระบบผู้จะรับสิทธิประโยชน์ไม่ต้องมีส่วนร่วมจ่ายเพราะแหล่งเงินมาจากงบประมาณแผ่นดินคือเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุบำเหน็จบำนาญข้าราชการกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการส่วนท้องถิ่นและบำเหน็จบำนาญข้าราชการกรุงเทพมหานครซึ่งระบบที่ผู้รับสิทธิประโยชน์จะต้องมีส่วนร่วมจ่ายคือกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการกองทุนประกันสังคมกองทุนการออมแห่งชาติกองทุนสงเคราะห์กระทรวงศึกษาธิการและกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ

นอกจากนี้ยังมีระบบจะต้องมีส่วนร่วมจ่ายเป็นระบบเฉลี่ยทุกข์-เฉลี่ยสุขร่วมจ่ายโดยเจ้าตัวนายจ้างและรัฐบาลคือกองทุนประกันสังคมและกองทุนสงเคราะห์กระทรวงศึกษาธิการขณะที่ระบบอยู่บนหลักการของการออมและมีการสมทบร่วมโดยนายจ้างหรือรัฐบาลมีกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการกองทุนการออมแห่งชาติและกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ

“ระบบบำเหน็จบำนาญของประเทศไทยมีลักษณะเป็นปิ่นโตคือประชาชนคนหนึ่งมีโอกาสจะได้รับประโยชน์จากระบบบำเหน็จบำนาญหลายระบบได้พร้อมกันตามลักษณะทางประชากรอาชีพสถานะการทำงานและสถานที่ทำงานซึ่งบางคนอาจมีปิ่นโตหลายชั้นขณะที่บางคนอาจมีปิ่นโตเพียงชั้นเดียวทำให้กลุ่มคนบางส่วนของสังคมเช่นแรงงานนอกระบบมีเพียงเบี้ยยังชีพของผู้สูงอายุซึ่งไม่เพียงพอต่อการดำรงชีวิตทำให้คนกลุ่มนี้ขาดความมั่นคงทางด้านรายได้ขณะเดียวกันภายใต้ระบบบำเหน็จบำนาญที่เป็นอยู่ในปัจจุบันรัฐบาลต้องมีภาระค่าใช้จ่ายที่สูงจำนวนผู้สูงอายุที่เพิ่มขึ้นเรื่อยๆและมีอายุยืนขึ้นก็จะส่งผลต่อสถานการณ์การคลังของรัฐบาลในอนาคตด้วย” ศ.ดร.วรเวศม์ กล่าว

ศ.ดร.วรเวศม์กล่าวว่าระบบบำนาญของไทยในปัจจุบันโดยหลักการผู้สูงอายุไทยทุกคนจะอยู่ในข่ายที่ได้รับบำนาญข้าราชการหรือเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุเป็นพื้นฐานเมื่อพิจารณาจำนวนผู้ที่กำลังรับเงินบำนาญข้าราชการและเบี้ยยังชีพรวมกันต่อจำนวนประชากรผู้สูงอายุทั้งหมดมีสัดส่วนประมาณ88 % สะท้อนให้เห็นว่าระบบบำนาญของไทยในปัจจุบันสร้างความครอบคลุมสำหรับการคุ้มครองด้านรายได้ให้กับผู้สูงอายุไทยได้กว้างขวางทีเดียว

ขณะเดียวกันประชากรวัยทำงานมีโอกาสในการสร้างหลักประกันเพิ่มเติมไปมากกว่านั้นผ่านระบบบำนาญอื่นๆเช่นกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการประกันสังคมกองทุนสงเคราะห์กระทรวงศึกษาธิการโดยกองทุนการออมแห่งชาติจะช่วยเก็บตกประชากรวัยทำงานที่ไม่ใช่ลูกจ้างในสถานประกอบการต่างๆไม่ว่าจะเป็นแรงงานนอกระบบประชากรวัยทำงานที่ไม่อยู่ในกำลังแรงงานให้สร้างหลักประกันได้

ปัจจุบันไทยมีระบบเพื่อรองรับประชากรวัยทำงานทุกกลุ่มก็จริงแต่ประชากรวัยทำงานที่มีหลักประกันส่วนเพิ่มเติมจากบำนาญหรือเบี้ยยังชีพยังครอบคลุมไม่มากนักเมื่อนำมาเปรียบเทียบกับประชากรวัยกำลังแรงงานอายุ15-59 ปีมีจำนวน42,845,915 คนในปลายปี2562 ประชากรวัยทำงานที่มีบำนาญส่วนเพิ่มที่กล่าวไปนั้นมีความครอบคลุมประมาณร้อยละ38.82 เท่านั้น” ศ.ดร.วรเวศม์กล่าว

ศ.ดร.วรเวศม์กล่าวอีกว่าในช่วงสถานการณ์การระบาดของโควิด-19 ทำให้เห็นข้อจำกัดของระบบการมีส่วนร่วมจ่ายและความไม่เชื่อมโยงระหว่างระบบ พบแรงงานหลายคนต้องหลุดจากระบบประกันสังคมเนื่องจากภาวะเศรษฐกิจการลดอัตราเงินสมทบเข้ากองทุนประกันสังคมส่งผลต่อกองทุนประกันสังคมลูกจ้างและนายจ้างหยุดเลื่อนการจ่ายเงินสะสมเงินสมทบเข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพมีนายจ้างลดอัตราการจ่ายเงินสมทบการยกเลิกกองทุนสำรองเลี้ยงชีพของบริษัทในหลายแห่งด้วย

สิ่งสำคัญอันดับแรกของการเปลี่ยนแปลงระบบบำนาญของประเทศคือการสร้างแพลตฟอร์มที่เป็นทางการที่จะมองเห็นและนำพาระบบบำเหน็จบำนาญของประเทศไปในทิศทางที่ควรจะเป็นอย่างเป็นองค์รวมและแพลตฟอร์มนี้จะต้องทำหน้าที่เป็นผู้แนะนำชี้ทิศทางของระบบบำเหน็จบำนาญของประเทศที่มองผลประโยชน์ของ“ประชาชน” เป็นศูนย์กลางไม่ได้มองแค่“แต่ละระบบ” และประสานผลประโยชน์ของผู้สูงอายุรุ่นนี้รุ่นหน้ารวมถึงสถานภาพการทำงานและอาชีพของประชาชนที่จะก้าวขึ้นมาเป็นผู้สูงอายุด้วยซึ่งในร่างพระราชบัญญัติคณะกรรมการบำเหน็จบำนาญแห่งชาติพ.ศ….. ที่ได้ระบุในเรื่องต่างๆเหล่านี้ไว้อย่างครอบคลุม

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0

ความเห็น 0

ยังไม่มีความเห็น