- ผู้ป่วยรายใหม่เพิ่ม 120 ราย ตายเพิ่ม 2 ราย
วันนี้ (1 เมษายน 2563) ที่ทำเนียบรัฐบาล นายแพทย์ทวีศิลป์ วิษณุโยธิน โฆษกศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (ศบค.) แถลงข่าว สถานการณ์แพร่ระบาดไวรัสโควิด-19 ประจำวันนี้ ว่า ประเทศไทยพบจำนวนผู้ติดเชื้อรายใหม่เพิ่ม 120 ราย รวมยอดสะสม 1,771 ราย เป็นเพศชาย 57.8% และ เพศหญิง 42.2% เสียชีวิตเพิ่มอีก 2 ราย รักษาหายกลับบ้าน เพิ่ม 215 ราย รวม 342 ราย
ทั้งนี้ ผู้ป่วยติดเชื้อทั้งหมดมีสัญชาติไทย 1,500 ราย สัญชาติอื่น ๆ 271 ราย จำนวนผู้ป่วยจำแนกตามพื้นที่ กรุงเทพฯ-นนทบุรี 972 คน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 89 ราย ภาคเหนือ 66 ราย ภาคกลาง 273 ราย ภาคใต้ 213 ราย ส่วนกลุ่มอายุ ยังคงเป็นกลุ่มวัยทำงาน 20-29 ปี 30-39 ปี 40-45 ปี อายุเฉลี่ย 39 ปี อายุสูงสุด 84 ปี อายุน้อยสุด 6 เดือน
นายแพทย์ทวีศิลป์ กล่าวต่อไปว่า ในส่วนของจำนวนผู้ติดเชื้อรายใหม่ 120 รายนี้ สามารถแบ่งเป็น 3 กลุ่มดังนี้ กลุ่มที่ 1 ผู้ป่วยที่มีประวัติสัมผัสกับผู้ป่วย หรือเกี่ยวข้องกับสถานที่ที่พบผู้ป่วยก่อนหน้านี้ จำนวน 51 ราย ได้แก่ กลุ่มสนามมวย 1 ราย กลุ่มสถานบันเทิง 11 ราย กลุ่มผู้สัมผัสกับผู้ป่วยที่มีรายงานมาแล้ว 38 ราย และงานบุญมาเลเซีย 1 ราย
กลุ่มที่ 2 ผู้ป่วยรายใหม่ จำนวน 39 ราย เป็นกุล่มคนไทยที่เดินทางกลับมาจากต่างประเทศ 6 ราย ร่วมพิธีกรรมทางศาสนาประเทศอินโดนีเซีย 16 ราย ต่างชาติกลับมาจากต่างประเทศ 2 ราย กลุ่มอาชีพเสี่ยง เช่น ทำงานในสถานที่แออัด หรือทำงานใกล้ชิดสัมผัสกับชาวต่างชาติ 14 ราย และ บุคลากรทางสาธารณสุข 1 ราย กลุ่มที่ 3 อยู่ระหว่างการสอบสวนโรค 30 ราย
- 1 เม.ย.ผู้ป่วยรายใหม่กระจาย 16 จังหวัด
สำหรับจังหวัดที่มีผู้ป่วยยืนยันรายใหม่ ในวันที่ 1 เมษายน 2563 จำนวน 120 คน ใน 16 จังหวัด ได้แก่ กรุงเทพมหานคร 43 ราย สมุทรปราการ 23 ราย ภูเก็ต 11 ราย กระบี่ , นนทบุรี , ปทุมธานี , บุรีรัมย์ , สงขลา , ชลบุรี 2 ราย ฉะเชิงเทรา , นครปฐม , ศรีสะเกษ , สมุทรสาคร , สระบุรี , หนองบังลำภู , อุบลราชธานี 1 ราย และ อยู่ระหว่างการสอบสวนโรค 24 ราย
นอกจากนั้น จากการจำแนกตามแผนที่แสดงจังหวัดที่มีผู้ป่วยยืนยันสะสมโควิด-19 มีจำนวน 1,771 ราย ใน 60 จังหวัด ข้อมูล ณ วันที่ 1 เม.ย.2563 แบ่งเป็น กทม. 850 ราย นนทบุรี 104 ราย สมุทรปราการ 72 ราย ภูเก็ต 71 ราย ชลบุรี 47 ราย ยะลา 35 ราย ปัตตานี 34 ราย เชียงใหม่ 29 ราย สงขลา 25 ราย ปทุมธานี 17 ราย อุบลราชธานี, สมุทรสาคร 14 ราย สุราษฎร์ธานี 13 ราย บุรีรัมย์ , สระแก้ว 12 ราย ประจวบคีรีขันธ์ 11 ราย ราชบุรี 8 ราย เชียงราย 6 ราย
กาญจนบุรี , กระบี่ , ฉะเชิงเทรา 9 ราย นราธิวาส นครสวรรค์ ศรีสะเกษ สุรินทร์ 7 ราย พัทลุง , สระบุรี , แม่ฮ่องสอน 5 ราย ขอนแก่น , ตรัง , มุกดาหาร , ระยอง , หนองบัวลำภู 4 ราย เพชรบูรณ์ , เลย , จันทบุรี , พิษณุโลก , ปราจีนบุรี , ร้อยเอ็ด , อุตรดิตถ์ , สุโขทัย 3 ราย ชัยภูมิ , ตาก , ลพบุรี , พะเยา , กาฬสินธุ์ , สุพรรณบุรี 2 ราย เพชรบุรี , แพร่ , นครนายก , ยโสธร , หนองคาย , อำนาจเจริญ , อุทัยธานี , ลำพูน , ชุมพร , นครพนม มหาสารคาม 1 ราย และ อยู่ระหว่างการสอบสวนโรค 176 ราย
- 15 จังหวัดที่พบผู้ป่วยใหม่ 25-31 มี.ค.
นายแพทย์ทวีศิลป์ กล่าวต่อไปว่า สำหรับจังหวัดที่พบผู้ป่วยรายใหม่ ในช่วงวันที่ 25 – 31 มีนาคม 2563 ได้แก่ จังหวัดชุมพร นครพนม พิษณุโลก พะเยา หนองคาย อำนาจเจริญ มุกดาหาร และลำพูน ปัจจัยเสี่ยง คือ สถานบันเทิง (ส่วนใหญ่มาจากกทม.) , จังหวัดเพชรบุรี อุทัยธานี ปัจจัยเสี่ยงได้แก่ สัมผัสผู้ป่วยยืนยันนอกพื้นที่ , จังหวัดแม่ฮ่องสอน และ อุตรดิตถ์ ปัจจัยเสี่ยง คือ ประวัติเดินทางต่างประเทศ (ปากีสถาน , การ์ต้า) , จังหวัดมุกดาหาร ได้แก่ บุคลากรทางการแพทย์ (สัมผัสมาจาก กทม.) , จังหวัดสุพรรณบุรี ปัจจัยเสี่ยง คือ อาชีพเสี่ยง (ร้านเสริมสวย สัมผัสจากภูเก็ต) และ จังหวัดมุกดาหาร ปัจจัยเสี่ยงจากสนามมวย
ไทมไลน์โควิดในไทยเดือนมีนาคม
ทั้งนี้ สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) และกรมควบคุมโรค ได้รวมรวบไทม์ไลน์ โรคโควิด -19 ในเดือนมีนาคม 2563 ตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม พบผู้เสียชีวิตรายแรกในประเทศไทย , 3 มีนาคม แรงงานไทยจากเกาหลีใต้เดินทางกลับไทย , 6 มีนาคม เหตุการณ์สถานบันเทิงย่านทองหล่อ , 9 มีนาคม เหตุการณ์สนามมวย , 11 มีนาคม WHO ประกาศเป็น Pandemic , 12 มีนาคม จัดตั้งศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด-19 ที่ทำเนียบรัฐบาล , 15 มีนาคม จำนวนผู้ติดเชื้อเกิน 100 ราย และ มีการค้นหาผู้เสี่ยงสูง 132 คน กลับจากงานดาวะห์ , 16 มีนาคม ประกาศยกเลิกวันหยุดสงกรานต์ , 22 มีนาคม กทม.สั่งปิดห้าง คนเริ่มกลับต่างจังหวัด ปรับเกณฑ์วินิจฉัยให้ใช้ผลตรวจครั้งเดียวได้ , 26 มีนาคม ประกาศบังคับใช้ พ.ร.ก. สถานการณ์ฉุกเฉิน จัดตั้ง ศบค. และถือเป็นวันที่ จำนวนผู้ติดเชื้อเกิน 1,000 ราย
- ห่าง 2 เมตร ป้องกันติดเชื้อในบ้าน
นายแพทย์ทวีศิลป์ กล่าวเพิ่มเติมว่า สำหรับการเพิ่มของจำนวนผู้ป่วยในเดือนมีนาคมที่ผ่านมา จะเห็นว่า การรณรงค์ให้อยู่บ้าน แต่จำนวนการติดในบ้านไม่ลดลง ตัวเลขในช่วงปลายเดือนสูงขึ้น แม้จะอยู่บ้านเพื่อชาติ แต่ท่านก็ยังต้องเพิ่มระยะห่างทางสังคม กับคนในครอบครัวไม่ต่ำกว่า 2 เมตรด้วย
“การป้องกันการติดเชื้อในบ้าน อยู่บ้าน หยุดเชื้อ เพื่อชาติ ทุกคนให้ความร่วมมือแต่ปรากฏว่า การติดเชื้อในบ้านพักอาศัยยังคงพุ่งทะยาน เพราะหากท่านมีสมาชิกมากกว่าหนึ่งคนในบ้าน ถือว่าเป็นความเสี่ยง เพราะอีกคนก็มีโอกาสนำเชื้อมาติดเรา เขาออกไปซื้อของอาจจะสัมผัสอะไรมา ดังนั้น ขอให้ใช้หลัก กินร้อน ช้อนกลาง ล้างมือ ใส่หน้ากากอนามัย หน้ากากผ้าก็ยังดี อยู่ด้วยกันได้ ดูทีวีด้วยกันได้ แต่เว้นระยะห่าง 2 เมตร เพื่อป้องกันละอองฝอยจากการพูดคุย ไม่ใช่แค่ 14 วัน แต่ขอให้ทำแบบนี้ตลอดไปในช่วงนี้ เมื่อไหร่ที่ยังเห็นภาพตัวเลขพุ่งทะยานไปเป็นร้อย ขอให้ทำทุกวัน”
ขณะเดียวกัน กรณีการปิดสนามมวย หากจำได้ช่วงต้นเดือน ที่มีการจัดชกมวย และมีรายงานผู้ติดเชื้อและรายงานเข้ามา หลังจากระยะฟักตัว ทำให้การแพร่ระบาด ส่งผลให้จำนวนตัวเลขผู้ติดเชื้อสูงขึ้นราววันที่ 20-22 มีนาคม แต่พอเราควบคุมได้ดี จะพบว่าการระบาดในกรณีนี้เริ่มลดน้อยลง
สำหรับมาตรการกักกันผู้กลับมาจากพื้นที่เสี่ยง ยังไม่ดีนัก ทำให้จำนวนผู้ป่วยในกลุ่มนี้พุ่งขึ้นในช่วงปลายเดือน ขณะเดียวกัน ในส่วนของผู้ป่วยงานบุญที่ประเทศมาเลเซีย มีการลดลงช่วงปลายเดือนลดลง ดังนั้น มาตรการที่ปรับใช้กับแต่ละพื้นที่ มีความสำคัญอย่างยิ่ง จะเห็นว่า ตัวเลขของทาง 3 จังหวัดชายแดนใต้ ลดน้อยลง หากมาตรการเข้มข้นและทุกคนให้ความร่วมมือ ขณะเดียวกัน มาตรการการปิดสถานที่ชุมชนทั้งหลาย ต้องเข้มข้นขึ้น รวมถึงสถานบันเทิง ซึ่งมีการรายงานตลอด เนื่องจากจำนวนผู้ป่วยในกรณีนี้ยังไม่ลดลง
“สำหรับผู้ป่วยที่มาจากต่างประเทศ ในเดือน มีนาคม 2563 ส่วนใหญ่เป็นชาวยุโรปที่เดินทางมาเป็นหลัก และเพิ่มขึ้นในช่วงวันที่ 20-25 มีนาคม 2563 ส่วนชาติอื่นๆ จะมาจาก อเมริกา และปากีสถาน ซึ่งเพิ่มขึ้นในช่วงหลัง ทำให้ตอนนี้ประเทศไทยต้องเข้มงวดกลไกทางด้านด่านตรวจคนเข้าเมือง ในการให้วีซ่า ขั้นตอนต่างๆ และต้องมีมาตรการเพิ่มเติมมากขึ้น” นายแพทย์ทวีศิลป์ กล่าว
ความเห็น 14
Chairat S.
พาดหัวข่าวเรียก rating กระทบจิตใจ แต่ไม่พิจารณาว่าใช้คำเหมาะสมไหม ไร้ผล อะไรคือไร้ผล ผลของคุณคืออะไร ? คนต้องไม่ติดเชื้อ ? คนติดเชื้อลดลงต้องการเท่าไรเหรอครับ ? หรือต้องเทียบกับใคร?
01 เม.ย. 2563 เวลา 10.59 น.
จะมัวแต่บ่นกังวลวิตก แต่ไม่รักษาตัว ดื้อรั้นไม่ฟังใคร แล้วเอาแต่กล่าวร้ายว่า ไม่ห่วงใยประชาชน ทีตัวไปขนเชื้อมา มีสำนึกบ้างหรือเปล่า
01 เม.ย. 2563 เวลา 10.44 น.
BCE
พาดหัวข่าว ไม่ดีเลย ไม่ช่วยก็อยู่เฉยๆดีกว่าครับสื่อยี่ห้อนี้
01 เม.ย. 2563 เวลา 10.40 น.
jumjim
สื่อไม่ควรพาดหัวแบบนี้ ถ้าประชาชนไม่อยู่บ้าน ยอดอาจจะพุ่งสูงเป็นหลักพันต่อวันไปแล้วและจะกลายเป็นหลักหมื่นหลักแสนในที่สุด ตัวเลขพวกนี้เป็นผลพวงจากคนที่ไม่อยู่บ้านในช่วงแรก ก็เห็นๆกันอยู่ว่าในต่างประเทศคนติดเชื้อสูงขนาดไหน สื่อไม่ควรชักนำให้คนปฏิบัติตัวผิดๆเพราะนั่นจะนำมาซึ่งภัยของประเทศ
01 เม.ย. 2563 เวลา 09.57 น.
T^o^Y
ก็ไม่ได้อยู่บ้านกันตลอดนี่ครับคนทำงานก็ออกบ้านเช้าเย็นกับกันทุกวัน
01 เม.ย. 2563 เวลา 09.36 น.
ดูทั้งหมด