โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ทั่วไป

คพ.เตรียมทำวิจัยแก้ปัญหา 'ฝุ่นPM2.5' ของไทย

กรุงเทพธุรกิจ

เผยแพร่ 22 เม.ย. 2563 เวลา 08.21 น.

เมื่อวันที่ 22 เม.ย.63 นายประลอง ดำรงค์ไทย อธิบดีกรมควบคุมมลพิษ(คพ.) กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม(ทส.) เปิดเผยว่า คพ.ได้ประชุมนักวิชาการ หารือรายละเอียดโครงการวิจัยการแก้ไขปัญหา PM2.5 ของประเทศไทย เพื่อขอรับการจัดสรรงบประมาณประจำปี 2563 จากสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) โดยงานวิจัยประกอบด้วย การประเมินมาตรการตามแผนปฏิบัติการขับเคลื่อนวาระแห่งชาติ ?การแก้ไขปัญหามลพิษด้านฝุ่นละออง การศึกษาความเป็นไปได้ของการแทนที่รถดีเซลด้วย EV/NGV/EURO6 และการศึกษาแหล่งกำเนิดหลัก ฝุ่นPM2.5 ในกรุงเทพและปริมณฑล

นายประลอง กล่าวว่า งานวิจัยการประเมินมาตรการตามแผนปฏิบัติการขับเคลื่อนวาระแห่งชาติ "การแก้ไขปัญหามลพิษด้านฝุ่นละออง" จะครอบคลุมประเด็นหลักๆ ได้แก่ 1) การนำมาตรการไปสู่การปฏิบัติ (implementation scenario) 2)ปริมาณ PM2.5 ที่ลดลง (emission reduction) 3) การประเมินผลด้านเศรษฐกิจ-สังคม-สุขภาพ (socio-economy-health)

นายประลอง กล่าวว่า งานวิจัยการศึกษาความเป็นไปได้ของการแทนที่รถดีเซลด้วย EV/NGV/EURO6 จะครอบคลุมประเด็น 1. ปริมาณ PM2.5 ที่ลดลง (emission reduction) 2. ความเป็นไปได้และความคุ้มค่าในทางเศรษฐศาสตร์-สังคม-สุขภาพ 3. ความคุ้มค่าในการลงทุน 4. ปัญหาอุปสรรค และความเป็นไปได้ในด้านเทคนิค 5. บทวิเคราะห์สำหรับหน่วยงานภาครัฐที่ต้องดำเนินการเพื่อขับเคลื่อนความเป็นไปได้ดังกล่าว พร้อมจัดทำข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย และมาตรการทางเลือกเชิงเทคนิคที่เหมาะสม

"สำหรับโครงการการศึกษาแหล่งกำเนิดหลัก PM2.5 ในกรุงเทพและปริมณฑล ประกอบด้วยกิจกรรมหลักที่สำคัญ ได้แก่ ศึกษาปริมาณการปล่อย PM2.5 จากแหล่งกำเนิดหลัก ทั้งภาคการจราจรขนส่ง ภาคอุตสาหกรรม (โรงกลั่น โรงไฟฟ้า โรงเหล็ก โรงงานกำจัดกากของเสียหรือเตาเผาขยะ และอุตสาหกรรมหรือสถานประกอบการที่ใช้ ถ่านหิน น้ำมันเตา หรือชีวมวล เป็นเชื้อเพลิง) รวมทั้งแหล่งกำเนิดเชิงพื้นที่ ซึ่งจะมีการเก็บและวิเคราะห์ตัวอย่างในเชิงปริมาณและความเข้มข้นขององค์ประกอบใน PM2.5 จากแหล่งกำเนิดและในบรรยากาศ ซึ่งหัวข้องานวิจัยทั้ง 3 ประเด็น จะนำเสนอขอรับทุนจาก วช. เพื่อนำผลงานวิจัยมาใช้ในการการแก้ไขปัญหา PM2.5 ของประเทศไทย ต่อไป" นายประลอง กล่าว

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0

ความเห็น 0

ยังไม่มีความเห็น