โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ไอที ธุรกิจ

เครื่องปอกก้านตะไคร้ ตอบโจทย์ความต้องการด้วยงานวิจัย

รักบ้านเกิด

อัพเดต 22 ก.ค. 2563 เวลา 06.39 น. • เผยแพร่ 22 ก.ค. 2563 เวลา 06.39 น. • รักบ้านเกิด.คอม

เครื่องปอกก้านตะไตร้ด้วยระบบโรลเลอร์ ผลงานนวัตกรรมของกฤษณะ สุวะมาตย์ และธินนกร สุขเจริญ ทีมนักศึกษา ปวส.1 แผนกวิชาอิเล็กทรอนิกส์ วิทยาลัยการอาชีพสว่างแดนดิน อ.สว่างแดนดิน จ.สกลนคร ที่นำโจทย์ของกลุ่มแม่บ้านผลิตไม้จิ้มฟันสมุนไพร (ตะไคร้) ภายใต้ชื่อ ?ปันฝัน? แห่งบ้านตาลเนิ้ง ต.ตาลเนิ้ง อ.สว่างแดนดิน ซึ่งเป็นสินค้าโอท็อปประจำตำบลที่มีความต้องการของตลาดเป็นจำนวนมากและสามารถสร้างรายได้เสริมให้แก่บสมาชิกกลุ่มได้เป็นอย่างดี

Plant/9122_1_9122_1<i>-</i>Copy.jpg
Plant/9122_1_9122_1-Copy.jpg

นโยบายวิจัยแบบมุ่งเป้าในการสรรค์สร้างงานวิจัยเพื่อรับใช้ชุมชน เริ่มเห็นผลเป็นที่ประจักษ์มากขึ้น หลังสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ร่วมกับสำนักคณะกรรมการอาชีวศึกษา (สอศ.) ผลิตนักวิจัยสายอาชีวะจนได้ผลงานเป็นที่ประจักษ์ในการตอบโจทย์ความต้องการของชุมชน

 

 

"ก่อนจะผลิตชิ้นงานตัวนี้ พวกเราได้ลงพื้นที่สำรวจดูกลุ่มอาชีพของชาวบ้านก็พบว่ามีชาวบ้านกลุ่มหนึ่งทำไม้จิ้มฟันสมุนไพร โดยทำจากก้านตะไคร้ เหลาทีละก้านๆ กับมือ ซึ่งต้องใช้เวลานานกว่าจะได้ ก็เลยมาคิดเครื่องปอกก้านตะไคร้ เพื่อจะได้ประหยัดเวลา ลดแรงงานคนและเป็นผลงานทางวิชาการส่งอาจารย์ด้วย"

 

 

กฤษณะย้อนที่มาของสิ่งประดิษฐ์ดังกล่าว จากนั้นก็นำไปให้กลุ่มแม่บ้านทดลองใช้งานปรากฏว่าผลสำเร็จเป็นที่น่าพอใจสามารถปอกก้านตะไคร้ในปริมาณมากในเวลาอันรวดเร็วหรือเฉลี่ยประมาณ 1,000 ก้านต่อชั่วโมง ทำให้ผลิตได้ทันต่อความต้องการของลูกค้าได้เป็นอย่างดี

 

"ห่อหนึ่งมี 60 ก้าน สนนราคาห่อละ 3.50 บาท ในขณะที่ยอดสั่งซื้อของลูกค้าอยู่ที่ประมาณ 1-2 หมื่นห่อต่อเดือน ทำให้ผลิตไม่ทัน แต่หลังจากที่นำเครื่องปอกก้านตะไคร้ไปทดลองใช้งานปรากฏว่าทางกลุ่มชอบมาก เพราะปอกได้เร็วกว่าทำกับมือ ตอนนี้ก็เอาไปใช้ที่กลุ่มอยู่ 2 เครื่อง สนนราคาเครื่องละ 1,500 บาท"

 

เจ้าของผลงานสิ่งประดิษฐ์คนเดิมระบุอีกว่า สำหรับกลไกการทำงานของเครื่องปอกก้านตะไคร้ด้วยระบบโรลเลอร์นั้นจะประกอบด้วยมอเตอร์ ลูกกลิ้ง และแผ่นสเตนเลสเจาะรูเล็กๆ ตามขนาดของก้านตะไคร้ โดยใช้วิธีสอดหัวก้านตะไคร้ที่มีใบอยู่ด้วยเข้าไปในรูเล็กๆ ของแผ่นสเตนเลสมอเตอร์ก็จะหมุนไปตามร่องของลูกกลิ้ง จากนั้นก้านตะไคร้ก็จะออกมาอีกฟากของเครื่อง เมื่อได้ก้านตะไคร้แล้วจากนั้นก็นำไปเข้าสู่กระบวนการผลิต โดยการตัดเป็นชิ้นๆ เป็นไม้จิ้มฟันจากนั้นนำไปอบแห้งฆ่าเชื้อ ก่อนจะมาตัดเป็นไม้จิ้มฟันแล้วนำมาบรรจุถุงเพื่อจำหน่ายต่อไป

 

"สิ่งที่เราจะพัฒนาต่อยอดต่อไปก็คือจะติดใบมีดทาตัวเครื่องเลย หลังปอกเสร็จก็จะตัดเป็นไม้จิ้มฟันเลยไม่ต้องใช้คนมาตัด ส่วนใบตะไคร้ก็จะนำไปเป็นส่วนผสมของสมุนไพรทำลูกประคบ ซึ่งก็เป็นผลิตภัณฑ์เด่นของกลุ่มอีกอย่างหนึ่งด้วย ดังนั้น ตะไคร้ 1 ต้น สามารถนำมาแปรรูปได้ทั้งหมด โดยก้านตะไคร้ที่สามารถนำมาปอกเพื่อทำไม้จิ้มฟันได้นั้นจะต้องเป็นตะไคร้ที่มีอายุ 6 เดือนขึ้นไป เพราะก้านมีความแข็งพอดีและไม่อ่อนจนเกินไป" กฤษณะกล่าวย้ำ

 

เครื่องปอกก้านตะไคร้ด้วยระบบโรลเลอร์ นับเป็นอีกนวัตกรรมที่ประดิษฐ์ขึ้นมาเพื่อตอบสนองความต้องการของชุมชน โดยผลงานดังกล่าวนำมาจัดแสดงในงานประกวดสิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรมสายอาชีวศึกษา ภูมิภาคประจำปี 2558 ณ วิทยาลัยอาชีวศึกษาอุบลราชธานี อ.เมือง จ.อุบลราชธานี

เรื่อง / ภาพ : สุรัตน์ อัตตะ

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0

ความเห็น 0

ยังไม่มีความเห็น